
โกธชาโต ปราภโว.
[คำอ่าน : โก-ทะ-ชา-โต, ปะ-รา-พะ-โว]
“ผู้เกิดความโกรธแล้วเป็นผู้ฉิบหาย”
(องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๐๐)
บุคคลผู้ที่มักโกรธ เมื่อถูกความโกรธครอบงำ ย่อมสามารถที่จะทำกรรมหนักที่คนทั่วไปไม่สามารถทำได้ หรือคนทั่วไปไม่คิดจะทำ เพราะเป็นความผิดอย่างมหันต์ แต่คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่กลัว
เมื่อไม่มีความกลัวต่อผลของกรรมที่ตามมา เขาย่อมกล้าที่จะทำกรรมทุกอย่าง โดยไม่กลัวต่อกฏหมายบ้านเมือง ไม่กลัวต่อบาปกรรมที่จะตามให้ผล ไม่ละอายต่อการกระทำบาป ไม่เกรงกลัวต้อผลของบาป เรียกได้ว่า เมื่อโกรธขึ้นมาแล้ว หิริโอตตัปปะก็ไม่เหลือ สามารถทำความชั่วได้ทุกอย่าง
แต่เมื่อได้รับผลของกรรมชั่วที่ทำไปเพราะอำนาจของความโกรธนั้นแล้ว ก็ย่อมซบเซา ประสบความฉิบหายอย่างใหญ่หลวง ผลในโลกนี้คือได้รับโทษทัณฑ์ตามกฏหมายบ้านเมือง ผลในโลกหน้าก็คือการต้องชดใช้ผลกรรมที่ได้กระทำไปนั้น
ดังนั้น การกระทำที่ทำไปด้วยอำนาจของความโกรธ ก่อแต่ความฉิบหายให้เราอย่างเดียวเท่านั้น เมื่อใดก็ตามที่เกิดความโกรธขึ้นมา ต้องใช้ขันติธรรมมาระงับยับยั้งมันไว้เสียก่อน อย่าปล่อยให้มันสั่งการให้กระทำการชั่วร้ายต่าง ๆ ตามอำนาจของมัน จะได้ไม่ต้องพบกับความฉิบหายอันเป็นผลจากความโกรธนั้น
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา