
อตฺตานํ น ทเท โปโส.
[คำอ่าน : อัด-ตา-นัง, นะ, ทะ-เท, โป-โส]
“บุรุษไม่พึงให้ซึ่งตน”
(สํ.ส. 15/60)
คำว่า “ไม่พึงให้ซึ่งตน” หมายถึง ไม่ควรปล่อยตัวปล่อยใจให้เหลวไหลไร้สาระ หรือให้ไหลไปตามอำนาจของกิเลสอยู่ร่ำไป
ธรรมดาสภาพจิตใจของคนเรานั้นมันเปรียบเสมือนน้ำ คือมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำอยู่เสมอ ที่ไหนต่ำ น้ำก็ไหลไปที่นั่น จิตใจของคนเราก็เช่นกัน มักจะไหลไปสู่อารมณ์ต่ำ ๆ อยู่เสมอ
คำว่า “ให้ซึ่งตน” ก็คือ ปล่อยให้จิตไหลไปสู่อารมณ์ต่ำ ๆ นั่นเอง คือไม่พยายามประคับประคองจิตของตนให้อยู่ในอารมณ์ฝ่ายสูง ไม่หักห้ามใจให้งดเว้นการทำบาปอกุศล
คนเรานั้นควรใช้หลักธรรมคือความอดทนอดกลั้นมาประคับประคองใจ คอยข่มใจ คอยหักห้ามใจ ไม่ให้หลงไปทำกรรมชั่วช้าลามก
ถ้าทำได้ดังนี้ถือว่าเป็นคนที่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปในอารมณ์ที่เป็นบาป เป็นบุคคลที่น่าสรรเสริญ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา