
อธิปไตย 3 ประการ
อธิปไตย หรือ อธิปเตยยะ แปลว่า ความเป็นใหญ่ หรือ ภาวะที่ถือเอาเป็นใหญ่ หมายถึง สิ่งที่ยึดถือเป็นสำคัญในการกระทำหรือการดำเนินชีวิต มี 3 ประการ คือ
1. อัตตาธิปไตย
อัตตาธิปไตย หรือ อัตตาธิปเตยยะ ความมีตนเป็นใหญ่ หมายถึง การกระทำการด้วยปรารภตนเป็นประมาณ คือยึดถือตนเองเป็นสำคัญในการกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น จะทำการสิ่งใดก็ทำเพื่อประโยชน์ของตน ทำให้เหมาะสมแก่ตน ทำเพื่อความสะดวกส่วนตน ยึดถือความคิดเห็นของตนเป็นประมาณ
2. โลกาธิปไตย
โลกาธิปไตย หรือ โลกาธิปเตยยะ ความมีโลกเป็นใหญ่ คือ กระทำการใด ๆ โดยปรารภความนิยมของโลกเป็นประมาณ หรือยึดถือคนส่วนใหญ่เป็นประมาณ เช่น ทำความดีเพราะต้องการให้คนอื่นสรรเสริญ ไม่ทำความชั่วเพราะกลัวสังคมตำหนิ เป็นต้น โดยรวมก็คือทำอะไรนึกถึงคนส่วนมากเป็นสำคัญ ตรงกับคำที่ใช้ในปัจจุบันคือคำว่า ประชาธิปไตย
3. ธัมมาธิปไตย
ธัมมาธิปไตย หรือ ธัมมาธิปเตยยะ ความมีธรรมเป็นใหญ่ หมายถึง กระทำการโดยยึดความถูกต้องเป็นประมาณ บุคคลประเภทนี้จะไม่ถือตนเป็นใหญ่ในการกระทำการใด ๆ อีกทั้งไม่ได้มองว่าโลกจะเป็นอย่างไร แต่จะยึดถือความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลัก ทำดีเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ ละเว้นความชั่วเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ควรละ
ในบรรดาบุคคลทั้ง 3 ประเภทนั้น ผู้ที่เป็นอัตตาธิปไตย ควรเจริญสติให้มาก เพราะการยึดถือตนเป็นใหญ่ มีโอกาสผิดพลาดสูง ผู้ที่เป็นโลกาธิปไตย ควรเจริญปัญญาให้มาก เพราะการทำตามกระแสโลก ก็มีโอกาสทำผิดได้มากเช่นกัน ความคิดเห็นของคนส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป ส่วนผู้ที่เป็นธัมมาธิปไตย ต้องพยายามประพฤติธรรมให้ถูกต้อง
ผู้ที่เป็นผู้นำ หรือเป็นหัวหน้าหมู่คณะ เป็นนักปกครอง ควรละอัตตาธิปไตยและโลกาธิปไตยเสีย แล้วหันมาถือธัมมาธิปไตย คือยึดความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลัก จึงจะบริหารปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ