
บุคคล 4 ประเภท
บุคคล หมายถึง บุคคลผู้มีอัธยาศัยต่าง ๆ กัน มีอุปนิสัยต่าง ๆ กัน ท่านจำแนกประเภทตามอุปนิสัยในอันที่จะฟังธรรมแล้วรู้ตามได้ เป็น 4 ประเภท คือ
1. อุคฆฏิตัญญู
อุคฆฏิตัญญู ผู้ที่พอยกหัวข้อก็รู้ ผู้สามารถรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน หมายถึง บุคคลผู้มีสติปัญญามาก และมีบุญบารมีที่ได้สั่งสมมามากและแก่กล้าเต็มที่ บริบูรณ์เต็มที่แล้ว พอได้ฟังหัวข้อธรรมที่ท่านยกขึ้นแสดงเท่านั้นก็สามารถรู้ตามได้อย่างแจ่มแจ้ง โดยไม่ต้องอธิบายให้มากความ
เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่พ้นผิวน้ำขึ้นมาแล้วรอเวลาบาน พอได้รับแสงอาทิตย์อ่อน ๆ ก็บานทันที
2. วิปจิตัญญู
วิปจิตัญญู ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความ ผู้สามารถเข้าใจได้ต่อเมื่อท่านอธิบายความให้พิศดารออกไป หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญาพอประมาณ มีบารมีที่ได้สั่งสมมาในอดีตพอประมาณ ไม่แก่กล้ามากนัก เมื่อฟังหัวข้อธรรมที่ท่านยกขึ้นแสดงแล้วก็ยังไม่สามารถเข้าใจได้ในทันที ต่อเมื่อท่านอธิบายขยายความเพิ่มเติมให้ละเอียดพิศดารอีกสักหน่อย จึงสามารถรู้แจ้งแทงตลอดได้
เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งต้องรอเวลาโผล่พ้นผิวน้ำเสียก่อน เมื่อโผล่พ้นผิวน้ำและได้รับแสงอาทิตย์ก็จะสามารถเบ่งบานได้
3. เนยยะ
เนยยะ ผู้พอแนะนำได้ หมายถึง ผู้ที่มีสติปัญญา มีบุญบารมีพอสมควร แต่ยังไม่แก่กล้ามากนัก เมื่อได้ฟังหัวข้อธรรมแล้วก็ยังไม่เข้าใจ ได้ฟังคำอธิบายแล้วก็ยังไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ฟังคำอธิบายบ่อยเข้า ได้ฝึกฝนอบรมมากเข้า ก็สามารถเข้าใจแจ่มแจ้งได้
เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ในน้ำ ต้องรอเวลาที่จะพ้นจากผิวน้ำและรับแสงอาทิตย์ในวันต่อไป จึงจะบานได้
4. ปทปรมะ
ปทปรมะ ผู้มีบทเป็นอย่างยิ่ง หมายถึง บุคคลผู้มีสติปัญญาน้อย มีบุญบารมีน้อย เมื่อฟังธรรมย่อมรู้ได้แต่เพียงบทแห่งธรรมเท่านั้น คือแม้จะได้ยินได้ฟังมาก ได้ศึกษามามาก แต่จะไม่สามารถรู้แจ้งแทงตลอดได้ในชาตินี้ ทั้งยังไม่สามารถยังมรรคผลให้บังเกิดขึ้นได้ในชาตินี้ ต้องสั่งสมบารมีอีกต่อไป
เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังอยู่ในตม มีโอกาสที่จะโผล่ขึ้นมาได้ยาก เพราะปลาและเต่าจ้องจะกัดกินอยู่ตลอดเวลา
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ