
อาสวะ 4 ประการ
อาสวะ คือ สภาวะอันหมักดองสันดาน สิ่งที่มอมเมาพื้นจิต กิเลสที่ไหลซึมซ่านไปย้อมใจเมื่อประสบอารมณ์ต่าง ๆ จัดเป็นกิเลสอย่างละเอียด ปกติจะไม่แสดงตัวออกมา ต่อเมื่อประสบกับอารมณ์ที่น่าใคร่น่าพอใจจึงจะแสดงตัวออกมา ท่านจำแนกไว้ 3 ประการบ้าง 4 ประการบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงอาสวะ 4 คือ
1. กามาสวะ
กามาสวะ อาสวะคือกาม ได้แก่ กิเลสคือความใคร่ความปรารถนาที่นอนนิ่งอยู่ในสันดาน ไม่แสดงตัว ต่อเมื่อได้ประสบกับอารมณ์คือกามคุณห้า อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ กามาสวะตัวนี้ก็จะแสดงตัวออกมา ไหลซึมไปย้อมใจให้เกิดความใคร่ความพอใจ ยินดี อยากได้มาครอบครอง
2. ภวาสวะ
ภวาสวะ อาสวะคือภพ ได้แก่ กิเลสคือความอยากมีอยากเป็น ในฐานะหรือภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น อยากเป็นดารา อยากเป็นนักร้อง อยากเป็นเศรษฐี อยากมีเงินทอง อยากมีรถหรู เป็นต้น
3. ทิฏฐาสวะ
ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ได้แก่ กิเลสคือความเห็น คือความเห็นที่ผิดจากคลองธรรม เช่น สัสสตทิฏฐิ ความเห็นว่าเที่ยง อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ อกิริยทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าหาเหตุมิได้ นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มี เป็นต้น หรือความเห็นทั้งหลายที่ขัดต่อสัมมาทิฏฐิ จัดเป็นทิฏฐาสวะทั้งหมด
4. อวิชชาสวะ
อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ได้แก่ กิเลสคือความไม่รู้สภาวะต่าง ๆ ตามความเป็นจริง หรือรู้แบบผิด ๆ เข้าใจแบบผิด ๆ เช่น ความเข้าใจว่าสรรพสิ่งเป็นของเที่ยงแท้แน่นอน เข้าใจว่าทุกสิ่งทุกอย่างมีตัวตนอยู่จริง แล้วเกิดความหลงผิด หลงยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ