
ปาพจน์ 2 ประการ
ปาพจน์ แปลว่า วจนะอันเป็นประธาน ถ้อยคำหรือคำพูดอันเป็นประธาน พุทธพจน์หลัก ได้แก่ คำสอนอันเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธเจ้า แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ
1. ธรรม
ธรรม ได้แก่ คำสอนแสดงหลักความจริงที่ควรรู้ และแนะนำหลักความดีที่ควรประพฤติ มีไว้สำหรับขัดเกลาจิตใจของบุคคลให้ละเอียดประณีตยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติได้รับประโยชน์สุขสูงสุดตามสมควรแก่การปฏิบัติ
ลักษณะของธรรมนั้นมี 4 ประการ คือ
1) สวากขาตธรรม คือ เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระองค์ทรงพิจารณาดีแล้วว่าเป็นประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติจึงทรงนำมาตรัสไว้
2) สัลเลขธรรม คือ เป็นธรรมที่ขัดเกลากิเลสของผู้ปฏิบัติตามให้เบาบางลงและหมดสิ้นไปในที่สุด
3) นิยยานิกธรรม คือ เป็นธรรมที่สามารถนำพาผู้ปฏิบัติออกจากกองทุกข์ได้อย่างแท้จริง
4) สันติธรรม คือ เป็นธรรมที่นำความสงบสุขมาแก่ผู้ปฏิบัติ และเป็นธรรมที่นำไปสู่สันติที่แท้จริงคือพระนิพพาน
2. วินัย
วินัย ได้แก่ ข้อบัญญัติที่วางไว้เป็นหลักกำกับความประพฤติให้เป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอกัน เพื่อให้พุทธสาวกมีหลักปฏิบัติเป็นไปในทิศทางเดียวกัน มี 2 ประเภท คือ
1) อาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้ครองเรือน ได้แก่ ศีล 5 และศีล 8 สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบและความสงบร่มเย็นในการครองเรือนและการอยู่ร่วมกันในสังคม
2) อนาคาริยวินัย วินัยสำหรับผู้มิได้ครองเรือนซึ่งก็คือบรรพชิตนั่นเอง ได้แก่ ศีล 10 สำหรับสามเณร ศีล 227 สำหรับพระภิกษุ และศีล 311 สำหรับภิกษุณี (ปัจจุบันไม่มีภิกษุณีแล้ว) เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบร่มเย็นของพระสงฆ์สามเณร
ทั้งพระธรรมและพระวินัยนี้ ถือเป็นคำสอนหลักของพระพุทธเจ้า อีกทั้งพระพุทธเจ้าได้ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า เมื่อพระองค์เส็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมและพระวินัยนี้แหละ เป็นศาสดาของพุทธศาสนิกชนแทนพระองค์
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ