
ทานญฺจ ยุทฺธญฺจ สมานมาหุ.
[คำอ่าน : ทา-นัน-จะ, ยุด-ทัน-จะ, สะ-มา-นะ-มา-หุ]
“ท่านว่าทานและการรบเสมอกัน”
(สํ.ส. ๑๕/๒๙, ขุ.ชา.อฏฺฐก. ๒๗/๒๔๙)
ธรรมดามนุษย์เราเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ เรามีมัจฉริยะคือความตระหนี่ถี่เหนียวติดตัวมาด้วย ความตระหนี่ก็คือความหวงแหนสิ่งที่เป็นของของตน เป็นตัวขวางทานคือการให้ ขวางจาคะคือการสละสิ่งของ
ทาน คือการให้ หมายถึงให้สิ่งของที่เป็นของของตนเองแก่ผู้อื่น ด้วยน้ำใจที่โอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ให้ด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ ด้วยต้องการกุศลอย่างหนึ่ง ด้วยต้องการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างหนึ่ง
การที่บุคคลคนหนึ่งจะให้สิ่งใดแก่ผู้อื่นได้นั้น ต้องรบกับความตระหนี่ที่เป็นตัวคอยขวาง เพราะมัจฉริยะคือความตระหนี่นี้จะคอยขวางไม่ให้เราสละแบ่งปัน ดังนั้น ต้องคอยรบกับมันอยู่เสมอ ต้องเอาชนะมันให้ได้
ดังนั้น ท่านจึงเปรียบทานว่าเสมอกับการรบ เพราะต้องคอยรบกับมัจฉริยะคือความตระหนี่นี่เอง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา