
นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปกา นาม ทกฺขิณา.
[คำอ่าน : นัด-ถิ, จิด-เต, ปะ-สัน-นำ-หิ, อับ-ปะ-กา, นา-มะ, ทัก-ขิ-นา]
“เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทานชื่อว่าน้อย ย่อมไม่มี”
(ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๒)
คำว่า จิตเลื่อมใส หมายถึง จิตที่มีความศรัทธาในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า และศรัทธาในพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอริยสาวก หรือผู้ปฏิบัติตนเพื่อความพ้นทุกข์
เมื่อทายกคือผู้บำเพ็ญบุญมีจิตที่ประกอบด้วยความศรัทธาเลื่อมใสเช่นนี้ ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นทานที่มีอานิสงส์มาก เพราะเขามีศรัทธามาก ถึงแม้ว่าทักษิณาทานที่เขาถวายนั้นจะมีค่าน้อยก็ตาม
ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า ศรัทธา คือหัวใจสำคัญของการให้ทาน เมื่อศรัทธามีมากแล้ว ทานที่ให้นั้นย่อมมีผลมากด้วยเช่นกัน เพราะผู้ที่ให้ด้วยศรัทธา เช่น ถวายทานแก่พระสงฆ์ที่ตนเองศรัทธา จิตย่อมยินดีในการให้เป็นกำลัง มีความสุข มีความแช่มชื่นในการให้ และความยินดีในการให้ ความมีใจแช่มชื่นในการให้นี่เอง ที่จะเป็นตัวที่ทำให้การให้หรือทักษิณาทานนั้นมีผลมาก
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา