
ปาเป น รมตี สุจิ.
[คำอ่าน : ปา-เป, นะ, ระ-มะ-ตี, สุ-จิ]
“คนสะอาด ไม่ยินดีในความชั่ว”
(วิ.มหา. ๕/๓๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๖)
คำว่า “คนสะอาด” ในที่นี้ หมายถึง คนที่มีจิตใจสะอาด คือ คนที่มีแต่ความคิดที่ดีในจิตใจ จิตใจไม่ถูกกิเลสตัณหาครอบงำ คือไม่ตกเป็นทาสของกิเลสนั่นเอง กิเลส เป็นสาเหตุแห่งความมัวหมองของจิต คือกิเลสยิ่งมากเท่าไหร่ จิตใจของคนก็ยิ่งมัวหมองมากเท่านั้น แต่ถ้ากิเลสน้อย ความมัวหมองก็น้อย ยิ่งถ้ากิเลสไม่มีเลย จิตใจย่อมใสสะอาดปราศจากมลทิน
คนที่มีจิตใจสะอาดดังที่กล่าวมา ย่อมไม่ยินดีในบาปอกุศล คือไม่ยินดีในการทำบาป เพราะมองเห็นโทษของการทำบาปที่จะทำให้ตนเองและผู้อื่นต้องได้รับความฉิบหายเดือดร้อน
แต่ในทางกลับกัน เขาย่อมยินดีแต่ในบุญกุศล เพราะได้มองเห็นประโยชน์ของการสร้างบุญสร้างกุศล อันจะเป็นเหตุให้เขานั้นได้รับแต่ความสุขความเจริญถ่ายเดียว อีกทั้งยังเป็นการสร้างความสุขความเจริญให้กับสังคมและคนรอบข้างอีกด้วย
ดังนั้น พึงฝึกตนให้เป็นผู้มีจิตใจใสสะอาด ด้วยการปฏิบัติขัดเกลาจิตใจให้สะอาดปราศจากมลทินคือกิเลสเสียให้ได้ โดยการใช้หลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา