
อัตถะ 2 ประการ
อัตถะ แปลว่า อรรถ หรือ ความหมาย คือพระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัส ว่าโดยการแปลความหมายแล้ว มี 2 ประเภท คือ
1. เนยยัตถะ
เนยยัตถะ คือ พระสูตรซึ่งมีความหมายที่จะต้องไขความ คือต้องอธิบายความออกไปอีกเพื่อให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ได้แก่ พระพุทธพจน์ที่ตรัสตามสมมติอันมีความหมายที่แท้จริงซ่อนอยู่อีกชั้นหนึ่ง เช่น ที่พระองค์ตรัสเรื่องบุคคล ตัวตน เรา เขา ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน บุคคล 4 ประเภท เป็นต้น จะต้องอธิบายความหมายให้แจ่มแจ้งลงไปอีก
2. นีตัตถะ
นีตัตถะ คือ พระสูตรซึ่งมีความหมายที่แสดงชัดโดยตรงแล้ว หมายเอาพระพุทธพจน์ที่ตรัสโดยปรมัตถ์ซึ่งมีความหมายตรงไปตรงมาตามสภาวะอยู่แล้ว เช่น ที่พระองค์ตรัสว่า รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น มีความหมายตรงอยู่แล้ว ไม่ต้องไขความต่อ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ