
พระอนาคามี 5 ประเภท
อนาคามี แปลว่า ผู้ไม่เวียนกลับมาอีก คือผู้ไม่กลับมาสู่กามภพอีก พระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุขัยแล้ว จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส จากนั้นก็จะบรรลุอรหัตตผล เข้าสู่นิพพาน
พระอนาคามี เมื่อจำแนกตามคุณลักษณะและความสามารถในการบรรลุพระอรหัตตผล จำแนกได้ 5 ประเภท คือ
1. อันตราปรินิพพายี
อันตราปรินิพพายี แปลว่า ผู้ปรินิพพานในระหว่าง คือ พระอนาคามีที่เกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสภพใดภพหนึ่งแล้ว สามารถบรรลุอรหัตตผลเข้าสู่ปรินิพพานได้ในขณะที่อายุยังไม่ถึงครึ่ง เช่น ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอตัปปา มีอายุ 2,000 มหากัป ก็สามารถบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพานในช่วง 1,000 มหากัปแรก
2. อุปหัจจปรินิพพายี
อุปหัจจปรินิพพายี แปลว่า ผู้ปรินิพพานเมื่ออายุจวนจะหมด คือ ผู้ที่บรรลุอรหัตตผลและปรินิพพานในเมื่ออายุเลยครึ่งไปแล้ว เช่น ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอตัปปา มีอายุ 2,000 มหากัป ก็จะบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพานเมื่ออายุเลย 1,000 มหากัปไปแล้ว
3. อสังขารปรินิพพายี
อสังขารปรินิพพายี คือ ผู้ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้แรงชักจูง ได้แก่ พระอนาคามีที่เกิดในภพสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่ง แล้วสามารถบรรลุอรหัตตผลและเข้าสู่ปรินิพพานโดยไม่ต้องใช้ความเพียรมาก คือบรรลุได้โดยง่าย
4. สสังขารปรินิพพายี
สสังขารปรินิพพายี คือ ผู้ปรินิพพานโดยใช้แรงชักจูง ได้แก่ พระอนาคามีที่เกิดในภพสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ต้องใช้ความเพียรพยายามในการบำเพ็ญอย่างมาก จึงจะสามารถบรรลุพระอรหัตตผลและปรินิพพานได้
5. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี
อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี คือ ผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ ได้แก่ พระอนาคามีผู้ที่เกิดในภพสุทธาวาสชั้นใดก็ตาม จะต้องบำเพ็ญบารมีในชั้นนั้น ๆ จนสิ้นอายุขัยแล้วเลื่อนขึ้นไปตามลำดับ จนสุดท้ายเกิดในชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงจะสามารถบรรลุอรหัตตผลและปรินิพพาน
พระอนาคามี 2 ประเภทแรก (อันตราปรินิพพายี และ อุปหัจจปรินิพพายี) จะนิพพานในภพที่ตนเกิด โดยมีกำหนดด้วยช่วงอายุ
พระอนาคามี ประเภท อสังขารปรินิพพายี และ สสังขารปรินิพพายี ก็จะนิพพานในภพที่ตนเกิดเช่นกัน แต่มีกำหนดด้วยระดับของความเพียรที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
พระอนาคามีประเภทสุดท้าย คือ อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี จะต้องเลื่อนไปเกิดในภพที่สูงขึ้นไปตามลำดับจากภพที่เกิดครั้งแรก จนถึงชั้นอกนิฏฐภพ แล้วจึงจะปรินิพพานในภพนั้น
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ