
พระอรหันต์ 4 ประเภท
พระอรหันต์ หมายถึง ผู้ห่างไกลจากกิเลส จัดเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในบรรดาพระอริยบุคคล 4 ประเภท พระอรหันต์นั้น ถือว่าเป็นผู้หมดกิเลสเหมือนกันทั้งหมด แต่จะมีคุณสมบัติหรือคุณพิเศษแตกต่างกันไปบ้าง ท่านแบ่งพระอรหันต์ออกเป็น 2 ประเภทบ้าง 4 ประเภทบ้าง 5 ประเภทบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงพระอรหันต์ 4 ประเภท ประกอบด้วย
1. สุกขวิปัสสโก
สุกขวิปัสสโก แปลว่า ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน หมายถึง ท่านที่บรรลุอรหัตตผลด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานล้วน ๆ ไม่ได้เจริญสมถกรรมฐาน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิปัสสนายานิก หรือ สุทธวิปัสสนายานิก คือผู้มีวิปัสสนาล้วน ๆ เป็นยาน พระอรหันต์ประเภทนี้ ไม่สามารถแสดงฤทธิ์ได้
2. เตวิชโช
เตวิชโช แปลว่า ผู้ได้วิชชา 3 หมายถึง พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุวิชชา 3 หรือมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ ได้แก่
1) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีความสามารถในการระลึกชาติได้
2) จุตูปปาตญาณ มีความสามารถในการล่วงรู้การตายและการเกิดของสรรพสัตว์ได้
3) อาสวักขยญาณ สามารถทำอาสวะให้สิ้นไปได้
3. ฉฬภิญโญ
ฉฬภิญโญ แปลว่า ผู้ได้อภิญญา 6 หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญา 6 ประการ คือ
1) อิทธิวิธิ สามารถแสดงฤทธิ์ได้
2) ทิพพโสต มีหูทิพย์
3) เจโตปริยญาณ สามารถอ่านใจคนอื่นได้
4) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติได้
5) ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
6) อาสวักขยญาณ สามารถทำอาสวะให้สิ้นไปได้
4. ปฏิสัมภิทัปปัตโต
ปฏิสัมภิทัปปัตโต แปลว่า ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จปฏิสัมภิทา 4 ประการ คือ
1) อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ
2) ธัมมปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในธรรม
3) นิรุตติปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในนิรุกติ (ภาษา)
4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
พระอรหันต์ประเภทแรก คือ สุกขวิปัสสโก จัดเป็นประเภท ปัญญาวิมุตติ คือหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ส่วนสามประเภทหลัง จัดเป็นประเภทเจโตวิมุตติ คือหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งใจ
อีกอย่างหนึ่ง ประเภทแรกจัดเป็นวิปัสสนายานิก สามประเภทหลัง จัดเป็นสมถยานิก
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ