
พระอรหันต์ 5 ประเภท
พระอรหันต์ หมายถึง ผู้ห่างไกลจากกิเลส จัดเป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดในบรรดาพระอริยบุคคล 4 ประเภท พระอรหันต์นั้น ถือว่าเป็นผู้หมดกิเลสเหมือนกันทั้งหมด แต่จะมีคุณสมบัติหรือคุณพิเศษแตกต่างกันไปบ้าง ท่านแบ่งพระอรหันต์ออกเป็น 2 ประเภทบ้าง 4 ประเภทบ้าง 5 ประเภทบ้าง ในที่นี้จะกล่าวถึงพระอรหันต์ 5 ประเภท คือ
1. ปัญญาวิมุต
ปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา ได้แก่ พระอรหันต์ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานล้วน ๆ ไม่ได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานเป็นเบื้องต้น บำเพ็ญวิปัสสนาอย่างเดียวจนเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในสิ่งทั้งปวง และบรรลุอรหัตตผล สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง
2. อุภโตภาควิมุต
อุภโตภาควิมุต คือ ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน ได้ทังเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ หมายถึง พระอรหันต์ผู้ที่เจริญสมถะจนได้ฌานสมาบัติแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อจนสำเร็จอรหัตตผล
3. เตวิชชะ
เตวิชชะ แปลว่า ผู้ได้วิชชา 3 หมายถึง พระอรหันต์ผู้ได้บรรลุวิชชา 3 หรือมีคุณสมบัติพิเศษ 3 ประการ ได้แก่
- ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ มีความสามารถในการระลึกชาติได้
- จุตูปปาตญาณ มีความสามารถในการล่วงรู้การตายและการเกิดของสรรพสัตว์ได้
- อาสวักขยญาณ สามารถทำอาสวะให้สิ้นไปได้
4. ฉฬภิญญะ
ฉฬภิญญะ แปลว่า ผู้ได้อภิญญา 6 หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จอภิญญา 6 ประการ คือ
- อิทธิวิธิ สามารถแสดงฤทธิ์ได้
- ทิพพโสต มีหูทิพย์
- เจโตปริยญาณ สามารถอ่านใจคนอื่นได้
- ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติได้
- ทิพพจักขุ มีตาทิพย์
- อาสวักขยญาณ สามารถทำอาสวะให้สิ้นไปได้
5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ
ปฏิสัมภิทัปปัตตะ แปลว่า ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 หมายถึง พระอรหันต์ผู้สำเร็จปฏิสัมภิทา 4 ประการ คือ
- อัตถปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในอรรถ
- ธัมมปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในธรรม
- นิรุตติปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในนิรุกติ (ภาษา)
- ปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ