
อริยบุคคล 7 ประเภท
อริยบุคคล แปลว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ หรือ บุคคลผู้ประเสริฐ ได้แก่ บุคคลผู้ข้ามพ้นความเป็นปุถุชนได้แล้ว บรรลุธรรมขั้นสูงในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ในที่นี้จะกล่าวถึงพระอริยบุคคล 7 ประเภท ประกอบด้วย
1. อุภโตภาควิมุต
อุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน หมายถึง พระอรหันต์ผู้เจริญสมถกรรมฐานจนได้เจโตวิมุตติขั้นอรูปสมาบัติมาก่อนแล้ว จึงเจริญวิปัสสนากรรมฐานต่อจนได้ปัญญาวิมุตติ
2. ปัญญาวิมุต
ปัญญาวิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา หมายถึง พระอรหันต์ผู้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนได้ปัญญาวิมุตติ บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสาสวะทั้งปวงด้วยการเจริญวิปัสสนาเพียงอย่างเดียว
3. กายสักขี
กายสักขี แปลว่า ผู้เป็นพยานด้วยนามกาย หรือ ผู้ประจักษ์กับตัว คือ ท่านที่ได้สัมผัสวิโมกข์ 8 ด้วยกาย และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตต์ ที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ
4. ทิฏฐิปปัตตะ
ทิฏฐิปปัตตะ แปลว่า ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้ว และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตต์ ที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ
5. สัทธาวิมุต
สัทธาวิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา คือ ท่านที่เข้าใจอริยสัจจธรรมถูกต้องแล้ว และอาสวะบางส่วนก็สิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มีศรัทธาเป็นตัวนำ หมายเอาพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วขึ้นไป จนถึงเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหัตต์ ที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้าในการปฏิบัติ
6. ธัมมานุสารี
ธัมมานุสารี แปลว่า ผู้แล่นไปตามธรรม หรือ ผู้แล่นตามไปด้วยธรรม คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีปัญญาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ เมื่อบรรลุผลแล้วจะกลายเป็นทิฏฐิปปัตตะ
7. สัทธานุสารี
สัทธานุสารี แปลว่า ผู้แล่นไปตามศรัทธา หรือ ผู้แล่นตามไปด้วยศรัทธา คือ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผลที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า อบรมอริยมรรคโดยมีศรัทธาเป็นตัวนำ ท่านผู้นี้ ถ้าบรรลุผลแล้วจะกลายเป็นสัทธาวิมุต
พระอริยบุคคลทั้ง 7 ประเภทนี้ เมื่อรวมลงแล้ว จะได้ดังนี้
ประเภทที่ 1 และ 2 คือ อุภโตภาควิมุต และ ปัญญาวิมุต ได้แก่ พระอรหันต์ 2 ประเภท
ประเภทที่ 3, 4 และ 5 คือ กายสักขี ทิฏฐิปปัตตะ และ สัทธาวิมุต ได้แก่ พระโสดาบัน พระสกทาคามี และ พระอนาคามี และท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค จำแนกเป็น 3 พวก ตามอินทรีย์ทีแก่กล้าเป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ หรือ สัทธินทรีย์
ประเภทที่ 6 และ 7 คือ ธัมมานุสารี และ สัทธานุสารี ได้แก่ ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จำแนกตามอินทรีย์ที่เป็นตัวนำในการปฏิบัติ คือ ปัญญินทรีย์ หรือสัทธินทรีย์
อริยบุคคล 7 นี้ ในพระสุตตันตปิฎก เรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 7
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ