
อกุศลมูล 3 ประการ
อกุศลมูล คือ รากเหง้าของอกุศล ต้นตอของความชั่ว หรือสาเหตุแห่งกรรมชั่วทั้งหลาย ท่านจำแนกไว้ 3 อย่าง คือ
1. โลภะ
โลภะ คือ ความอยากได้ หมายเอาความอยากได้ในทางที่ผิด อยากได้แล้วแสวงหาหรือไขว่คว้าเอามาในทางที่ผิดหรือด้วยวิธีที่ผิด เช่น อยากได้เงินแล้วไปปล้นหรือไปขโมยเอา ทุจริตคดโกงเอา ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นต้น เหล่านี้ล้วนแต่เป็นความชั่วที่เกิดจากความโลภอยากได้ทั้งนั้น
2. โทสะ
โทสะ คือ ความคิดประทุษร้าย หมายเอาความคิดปองร้ายผู้อื่น ความคิดที่จะทำลายทำร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายต่อร่างกายหรือชีวิต โทสะนี้เป็นเหตุให้คนทะเลาะกันทำร้ายกันก็ได้ เป็นเหตุให้คนรบราฆ่าฟันกันก็ได้ ดังนั้น โทสะจึงเป็นสาเหตุแห่งการทำความชั่วอีกอย่างหนึ่ง
3. โมหะ
โมหะ คือ ความหลง หมายถึง ความหลงงมงาย ความโง่เขลา มีฐานมาจากอวิชชาคือความไม่รู้ ไม่เข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง ไม่รู้บาปบุญคุณโทษ ไม่รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้บุญคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์ เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นโมหะ ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการทำความชั่วอีกอย่างหนึ่ง
โทษของอกุศลมูลนี้รุนแรง มีผลทั้งในปัจจุบันชาติและสัมปรายภพ
โทษในปัจจุบันชาตินั้น ผู้มีอกุศลมูลครอบงำจิตใจหากไปทำความชั่วเพราะโลภะ โทสะ หรือโมหะ เข้าแล้ว ย่อมได้รับโทษตามกฎหมายบ้านเมือง เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกสังคมประณาม เป็นต้น
ส่วนโทษในสัมปรายภพนั้น หากตายไปพร้อมกับจิตที่ถูกโลภะครอบงำ โลภะนั้นจะนำพาไปเกิดในภูมิของเปรตหรือปิตติวิสัย หากตายไปพร้อมกับจิตที่ถูกโทสะครอบงำ โทสะนั้นจะนำพาไปเกิดในนรก หากตายไปพร้อมกับจิตที่ถูกโมหะครอบงำ โมหะนั้นจะนำพาไปเกิดในภูมิของสัตว์ดิรัจฉาน
ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพยายามกำจัดอกุศลมูลทั้ง 3 ประการนี้ออกจากจิตใจ อย่าให้หลงเหลือ
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ