
กุศลมูล 3 ประการ
กุศลมูล แปลว่า รากเหง้าของความดี หรือต้นตอแห่งความดี เป็นสาเหตุที่ทำให้คนสร้างคุณงามความดีละเว้นความชั่ว ท่านจำแนกไว้ 3 ประการ คือ
1. อโลภะ
อโลภะ ความไม่โลภ คือไม่อยากได้ในทางที่ผิด หรือเมื่ออยากได้แล้วก็ไม่แสวงหาในทางที่ผิด เช่น อยากมีเงินก็ประกอบสัมมาชีพ หาทรัพย์สินมาด้วยการทำงานที่สุจริต ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่กระทำผิดกฎหมายบ้านเมืองและศีลธรรม เป็นต้น
อโลภะนี้เป็นเหตุนำไปสู่การทำความดีหลายประการ เช่น การให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การเสียสละ การแบ่งปัน เป็นต้น
2. อโทสะ
อโทสะ ความไม่คิดประทุษร้าย คือไม่คิดปองร้าย ไม่คิดเบียดเบียนทำลายผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์ร้อนเสียหาย มีฐานมาจากความเมตตากรุณา ความไม่คิดประทุษร้ายนี้ช่วยให้คนรักษาศีลข้อที่ 1 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ และเป็นเหตุป้องกันทุกข์อันจะเกิดจากความขัดเคืองใจเมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่น่าชอบใจได้
3. อโมหะ
อโมหะ ความไม่หลง คือไม่หลงงมงาย รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง เข้าใจถูกต้อง มีฐานมาจากปัญญา ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เมื่อไม่หลงแล้ว ย่อมจะทำเฉพาะกรรมที่เป็นกุศล ละเว้นกรรมที่เป็นอกุศลเสียได้
อโมหะนี้ สามารถทำให้เกิดขึ้นมาได้ด้วยการหมั่นอบรมปัญญา เช่น การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน การฟังพระสัทธรรมเนือง ๆ การศึกษาธรรมะ การสนทนาธรรมกับกัลยาณมิตร เป็นต้น
บุคคลผู้ที่ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ย่อมได้รับความสุขความเจริญ และความยกย่องนับถือจากคนทั้งหลายในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และเมื่อตายไปย่อมมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะจิตไม่เศร้าหมองด้วยโลภะ โทสะ โมหะ ดังพระพุทธพจน์ว่า “จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา เมื่อจิตไม่เศร้าหมองแล้ว สุคติเป็นอันหวังได้“
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ