
สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
สัปปุริสบัญญัติ แปลว่า บัญญัติของสัตบุรุษ ข้อปฏิบัติที่สัตบุรุษวางเป็นแบบไว้หรือกล่าวสรรเสริญไว้ เป็นธรรมที่มีมาก่อนพุทธศาสนา เป็นข้อปฏิบัติที่บัณฑิตชนในยุคนั้นบัญญัติขึ้นและถือปฏิบัติสืบต่อกันมา และพระพุทธเจ้าก็ทรงสรรเสริญและทรงให้การรับรองไว้ มี 3 ประการ คือ
1. ทาน
ทาน แปลว่า การให้ หมายถึง การเสียสละ การแบ่งปันสิ่งของแก่ผู้อื่น การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กันและกันด้วยกำลังแรงกายแรงใจ และการให้นั้นควรประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการ คือ
1) ให้ด้วยศรัทธา คือ ให้ด้วยความเชื่อว่าการให้นั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นความดี
2) ให้ด้วยความเคารพ คือ ให้ด้วยความเคารพให้เกียรติผู้รับ ให้ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่ให้แบบดูถูกเหยียดหยาม
3) ให้ตามเวลาที่ควรให้ คือ ให้ในเวลาที่เหมาะสม
4) ให้ด้วยใจอนุเคราะห์ คือ ให้ด้วยใจที่คิดจะช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
5) ให้โดยไมกระทบตนเองและผู้อื่น คือ ให้โดยไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน
การให้นี้เป็นความดีขั้นพื้นฐานที่ทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข เพราะมีความโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อแบ่งปันกัน
2. ปัพพัชชา
ปัพพัชชา แปลว่า การถือบวช หรือการวางตัวเหมือนผู้บวช (ฝึกจิตใจให้เหมือนผู้บวช) คืองดเว้นการเบียดเบียนกันทั้งทางร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สิน โดยยึดถืออุบาย 3 อย่างเป็นอุบายในการงดเว้นจากการเบียดเบียนกัน คือ
1) อหิงสา การไม่เบียดเบียน คือการฝึกจิตไม่ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่น โดยให้เตือนตนเองอยู่เสมอว่า เรารักสุขเกลียดทุกข์ ฉันใด คนอื่นเขาก็รักสุขเกลียดทุกข์ ฉันนั้น แล้วไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
2) สัญญมะ การสำรวมระวัง คือการสำรวมระวังจิตใจไม่ให้คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ให้ทำบาปอกุศลทั้งหลาย ไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวงที่จะก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
3) ทมะ ความข่มใจ คือ ให้รู้จักข่มใจเมื่อจิตคิดเบียดเบียนหรือทำร้ายผู้อื่น ต้องรู้จักข่มใจห้ามใจตัวเองไม่ให้กระทำการใด ๆ อันจะเป็นการเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน
เมื่อบุคคลยึดถือปฏิบัติตามอุบาย 3 ข้อนี้ได้ ย่อมสามารถงดเว้นการเบียดเบียนกันได้ และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุขสงบร่มเย็น
3. มาตาปิตุอุปัฏฐาน
มาตาปิตุอุปัฏฐาน แปลว่า การบำรุงมารดาบิดา หมายถึงการบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดาให้มีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทางร่างกายคือบำรุงเลี้ยงดูท่านให้มีสุขภาพที่ดีในยามปกติ ช่วยดูแลปรนนิบัติในยามเจ็บไข้ได้ป่วย ทางใจคือการเป็นลูกที่ดี เชื่อฟัง ไม่ทำให้มารดาบิดาต้องเป็นทุกข์ใจ
บุตรธิดาพึงทดแทนบุญคุณพ่อแม่ด้วย 5 สถาน ดังนี้
1) ท่านเลี้ยงมาแล้วเลี้ยงท่านตอบ คือเลี้ยงดูท่านเหมือนที่ท่านเคยเลี้ยงดูเรา
2) ช่วยทำกิจของท่าน คือช่วยทำงานทุกอย่างที่สามารถช่วยได้เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน
3) ดำรงวงศ์สกุล คือช่วยรักษาทรัพย์สินของมารดาบิดาไม่ให้เสียหาย รักษาชื่อเสียงของวงศ์ตระกูล ไม่ทำลายวงศ์ตระกูลให้เสื่อมเสีย
4) ประพฤติให้เหมาะสมกับความเป็นทายาทรับทรัพย์มรดก คือ เชื่อฟังโอวาทคำสอนของมารดาบิดา ไม่ทำให้ท่านเดือดร้อน ไม่ทำให้ท่านทุกข์ใจ
5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ คือเมื่อท่านตายจากเราไปแล้ว ให้หมั่นทำบุญอุทิศให้ท่าน
เมื่อบุคคลประพฤติตามหลักสัปปุริสบัญญัติทั้ง 3 ประการนี้แล้ว ย่อมได้ชื่อว่าเป็นคนดี ได้รับการยกย่องสรรเสริญจากคนดี และทำให้สังคมนั้น ๆ มีแต่ความสุขและร่มเย็น
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ