
อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
อปัณณกปฏิปทา แปลว่า การปฏิบัติที่ไม่ผิด หมายถึง การปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นอริยะ เป็นหลักปฏิบัติที่จะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำรงอยู่ในวิถีแห่งความรอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่มีผิดพลาด มี 3 ประการ คือ
1. อินทรียสังวร
อินทรียสังวร คือ การสำรวมอินทรีย์ หมายถึง ความสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายในเวลาได้เห็นรูป ได้ยินเสียง ได้รับกลิ่น ได้ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส และเกิดธรรมารมณ์ขึ้นทางใจ โดยให้พิจารณาให้เห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ให้ความพอใจหรือไม่พอใจเกิดขึ้น
2. โภชเน มัตตัญญุตา
โภชเน มัตตัญญุตา แปลว่า ความรู้จักประมาณในการบริโภค หมายถึง รู้จักประมาณในการรับประทานอาหาร รับประทานแต่พอดี ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป บริโภคเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงอยู่ได้ มีเรี่ยวแรงในการปฏิบัติหน้าที่และบำเพ็ญสมณธรรม มิใช่เพื่อความสนุกมัวเมา
การบริโภคอาหารมากจนเกินประมาณ หรือน้อยจนไม่เพียงพอนั้น จะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่การงานต่าง ๆ เป็นอุปสรรคต่อการบำเพ็ญสมณธรรม อีกทั้งยังจะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นด้วย ดังนั้นจึงควรรู้จักประมาณในการบริโภคจะดีที่สุด
3. ชาคริยานุโยค
ชาคริยานุโยค แปลว่า การหมั่นประกอบความเป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ หมายถึง การหมั่นประกอบความเพียร ไม่เห็นแก่นอน พักผ่อนแต่พอดี ไม่นอนมากจนเกินไป มีความพร้อมต่อการบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ตลอด ไม่เห็นแก่ความสุขสบาย
ท่านว่าให้แบ่งเวลากลางวันและกลางคืนออกเป็น 6 ส่วน แล้วประกอบความเพียรในการบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสม่ำเสมอในเวาลา 5 ส่วน คือ กลางวัน 3 ส่วน กลางคืน 2 ส่วน เวลาที่เหลืออีก 1 ส่วนเป็นเวลาพักผ่อน
เมื่อปฏิบัติตามหลักอปัณณกปฏิปทาทั้ง 3 ประการนี้ ย่อมเป็นผู้ไม่ห่างไกลจากความเป็นอริยะ คือได้ชื่อว่าดำเนินตามวิถีแห่งความเป็นอริยะแล้ว ถือเป็นการปฏิบัติที่ไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นอริยะ มีหลักปฏิบัติที่ถูกทาง สามารถเข้าถึงความเจริญงอกงามในธรรมได้
- รัตนะ 3 (พระรัตนตรัย)
- คุณของรัตนะ 3 (คุณของพระรัตนตรัย)
- อาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน 3 อย่าง
- โอวาทของพระพุทธเจ้า 3 ข้อ
- ทุจริต 3 ประการ
- สุจริต 3 ประการ
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- สมาธิ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- พระโสดาบัน 3 ประเภท
- อกุศลมูล 3 ประการ
- กุศลมูล 3 ประการ
- สัปปุริสบัญญัติ 3 ประการ
- อปัณณกปฏิปทา 3 ประการ
- บุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ
- สามัญญลักษณะ (ไตรลักษณ์) 3 ประการ
- อกุศลวิตก 3 ประการ
- กุศลวิตก 3 ประการ
- อัคคิ 3 ประการ
- อัคคิปาริจริยา 3 ประการ
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- อัตถะ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- อธิปไตย 3 ประการ
- อนุตตริยะ 3 ประการ
- อภิสังขาร 3 ประการ
- อาสวะ 3 ประการ
- กรรม 3 ประการ
- ทวาร 3 ประการ
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 1)
- ญาณ 3 ประการ (หมวดที่ 2)
- ตัณหา 3 ประการ
- ทิฏฐิ 3 ประการ
- เทพ 3 ประเภท
- ธรรมนิยาม 3 ประการ
- นิมิต 3 ประการ
- ภาวนา 3 ประการ
- ปริญญา 3 ประการ
- ปหาน 3 ประการ
- ปาฏิหาริย์ 3 ประการ
- ปิฎก 3 ประการ (ไตรปิฎก)
- พุทธจริยา 3 ประการ
- ภพ 3 ประการ
- วัฏฏะ 3 ประการ
- วิชชา 3 ประการ
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 1)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 2)
- โลก 3 ประการ (นัยที่ 3)
- วิโมกข์ 3 ประการ
- วิเวก 3 ประการ
- สังขตลักษณะ 3 ประการ
- อสังขตลักษณะ 3 ประการ
- สังขาร 3 ประการ
- สัทธรรม 3 ประการ
- สมบัติ 3 ประการ
- ทานสมบัติ 3 ประการ
- สิกขา 3 ประการ
- โกศล 3 ประการ
- ทุกขตา 3 ประการ
- เทวทูต 3 ประการ
- ธรรม 3 ประการ
- บุตร 3 ประเภท
- ปปัญจะ 3 ประการ
- ปัญญา 3 ประการ
- ปาปณิกธรรม 3 ประการ
- ลัทธินอกพระพุทธศาสนา 3 ประเภท
- วิรัติ 3 ประการ
- เวทนา 3 ประการ
- สรณะ 3 ประการ
- สันโดษ 3 ประการ