
ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ หรือ โภคอาทิยะ คือหลักการใช้ทรัพย์สินที่หามาได้โดยบริสุทธิ์ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยมีหลักการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อให้เกิดประโยชน์ 5 ประการ คือ
1. เลี้ยงตัวเอง มารดาบิดา บุตรภรรยา และคนในปกครอง ให้เป็นสุข
ทรัพย์ที่หามาได้นั้น ส่วนหนึ่งให้ใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตน บำรุงตนในด้านอันเกี่ยวเนื่องด้วยปัจจัยสี่ รวมทั้งเลี้ยงดูมารดาบิดา บุตร ภรรยา พร้อมทั้งคนในปกครองถ้าหากมี เช่น ข้าทาสบริวาร ลูกน้อง เป็นต้น ให้ได้รับความอยู่ดีมีสุข
2. บำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข
ในการประกอบกิจทั้งหลายนั้น ไม่สามารถทำให้สำเร็จลุล่วงด้วยลำพังตนเองเพียงคนเดียวได้ จำต้องอาศัยเพื่อนสนิทมิตรสหาย หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจทั้งหลายช่วยกันขับเคลื่อนกิจการงานนั้น ๆ ให้ดำเนินไปได้ด้วยดี ดังนั้น การใช้จ่ายทรัพย์สินที่หามาได้ เพื่อบำรุงมิตรสหายและผู้ร่วมกิจการงานทั้งหลายให้อยู่ดีมีสุขตามสมควรจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรทำ
3. บำบัดอันตรายที่เกิดแต่เหตุต่างๆ
ควรแบ่งทรัพย์สินส่วนหนึ่ง ไว้ใช้จ่ายในการบำบัดภัยอันตรายต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น โรคภัยไข้เจ็บ อุบัติเหตุ อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่สามารถคาดเดาได้ เมื่อมีภัยต่าง ๆ ดังกล่าวเกิดขึ้น ควรมีทรัพย์สินส่วนหนึ่งสำรองไว้เพื่อใช้จ่ายในการบำบัดภัยเหล่านั้น
4. ทำพลี 5 อย่าง
ทรัพย์ส่วนหนึ่ง ให้ใช้ทำพลี 5 ประการ คือ
- ญาติพลี สงเคราะห์ญาติพี่น้องให้อยู่ดีมีสุข
- อติถิพลี ต้อนรับแขกผู้มาเยือนให้อิ่มหนำสำราญ
- ปุพพเปตพลี ทำบุญอุทิศผู้ตายหรือบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
- ราชพลี บำรุงราชการด้วยการเสียภาษี เป็นต้น
- เทวตาพลี ทำสักการะเทวดาหรือการทำบุญอุทิศเทวดาทั้งหลาย
5. อุปถัมภ์บำรุงสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ควรแบ่งทรัพย์อีกส่วนหนึ่งไว้บำเพ็ญบุญกุศลด้วยการถวายความอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ถวายการอุปถัมภ์พระภิกษุสงฆ์และสามเณรผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นต้น
เมื่อบุคคลประกอบสัมมาชีพแสวงหาทรัพย์สินได้มาแล้ว ควรแบ่งทรัพย์ออกเป็นส่วน ๆ และใช้จ่ายทรัพย์ดังจำแนกไว้เบื้องต้นนั้น จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุดจากการมีโภคทรัพย์
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ