
อาหาร 4 ประการ
อาหาร แปลว่า สิ่งที่นำผลมาให้ สภาพที่นำมาซึ่งผลโดยความเป็นปัจจัยค้ำจุนรูปธรรมและนามธรรมทั้งหลาย หมายถึง เครื่องค้ำจุนชีวิต สิ่งที่หล่อเลี้ยงร่างกายและจิตใจ ทำให้เกิดกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาได้ มี 4 ประการ คือ
1. กวฬิงการาหาร (อาหารคือคำข้าว)
อาหารคือคำข้าว ได้แก่ อาหารทั่ว ๆ ไป ที่กลืนกินเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ซึ่งเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้เกิดกำลังและบรรเทาความหิวให้เบาบางลงได้ เมื่อกำหนดรู้กวฬิงการาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะที่เกิดจากเบญจกามคุณได้ด้วย
2. ผัสสาหาร (อาหารคือผัสสะ)
อาหารคือผัสสะ ได้แก่ การกระทบกันของอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาต่าง ๆ คือ สุขเวทนา ความรู้สึกสบาย ทุกขเวทนา ความรู้สึกเป็นทุกข์ และอทุกขมสุขเวทนา ความรู้สึกเฉย ๆ ไม่สุขไม่ทุกข์
ผัสสะทำให้เกิดเวทนา ดังนั้นผัสสะจึงได้ชื่อว่า เป็นอาหารของเวทนา
3. มโนสัญเจตนาหาร (อาหารคือมโนสัญเจตนา)
อาหารคือมโนสัญเจตนา ได้แก่ ความจงใจ คือ เจตนาที่ชักนำให้เกิดการทำ การพูด การคิด ในทางที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ซึ่งเรียกว่า กรรม อันได้แก่ การกระทำทางกาย ทางวาจา และทางใจ ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากการชักนำของมโนสัญเจตนาทั้งสิ้น
4. วิญญาณาหาร (อาหารคือวิญญาณ)
อาหารคือวิญญาณ ได้แก่ ความรู้แจ้งในอารมณ์ เมื่ออายตนะภายในกับอายตนะภายนอกกระทบกัน ก็เกิดวิญญาณคือความรู้แจ้งขึ้น เช่น เมื่อตาซึ่งเป็นอายตนะภายใน กระทบกับรูปซึ่งเป็นอายตนะภายนอก ก็เกิดจักขุวิญญาณคือความรู้แจ้งทางตา (การเห็น) เป็นต้น
วิญญาณ ได้ชื่อว่าเป็นอาหาร เพราะเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้เกิดผัสสะ เวทนา และสัญญา อีกนัยหนึ่ง วิญญาณาหาร หมายถึง ปฏิสนธิวิญญาณ ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูปคือขันธ์ 5
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ