
อวิชชา 4 ประการ
อวิชชา คือ ความไม่รู้ ความไม่รู้แจ้ง ความไม่รู้จริง หมายถึง ไม่รู้แจ้งชัดตามความเป็นจริง หมายเอาความไม่รู้ในอริยสัจ 4 ประการ ดังนี้
1. ทุกฺเข อญฺญาณํ (ไม่รู้ในทุกข์)
ไม่รู้ในทุกข์ คือ ไม่รู้ว่าทุกข์คืออะไร ไม่รู้ว่าการมีขันธ์ 5 นี้มันเป็นทุกข์ ไม่รู้ว่าการเกิดบ่อย ๆ มันทำให้เป็นทุกข์ เพราะต้องประสบกับความแก่ ความเจ็บ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเศร้าโศกเสียใจ และความตาย แล้วก็เวียนมาเกิดอีก แล้วก็ประสบกับทุกข์เดิม ๆ อีกร่ำไป ไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านี้มันเป็นทุกข์ แล้วก็ปรารถนาที่จะมาเกิดอีก อย่างนี้เรียกว่า ไม่รู้จักทุกข์
2. ทุกฺขสมุทเย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์)
ไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์ คือ ไม่รู้สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ไม่รู้ว่าตัณหาทั้ง 3 ประการ คือ กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น และวิภวตัณหา ความทะยานอยากในอันที่จะพ้นไปจากภาวะบางอย่างที่ไม่ชอบใจ เหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
เมื่อไม่รู้ว่าตัณหาเป็นเหตุแห่งทุกข์ดังนี้แล้ว จึงไม่พยายามที่จะละตัณหาทั้ง 3 ประการนี้ให้หมดไป อย่างนี้เรียกว่า ไม่รู้ในเหตุแห่งทุกข์
3. ทุกฺขนิโรเธ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในความดับแห่งทุกข์)
ไม่รู้ในความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ว่าความทุกข์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น สามารถดับได้ด้วยการดับที่ตัณหาอันเป็นต้นเหตุ ไม่รู้ว่าการดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิงนั้นจะก่อให้เกิดความสุขอันเป็นเอกันตบรมสุข
เมื่อไม่รู้อย่างนี้ จึงไม่แสวงหาหนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ อย่างนี้เรียกว่า ไม่รู้ในความดับทุกข์
4. ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย อญฺญาณํ (ไม่รู้ในหนทางแห่งความดับทุกข์)
ไม่รู้ในหนทางแห่งความดับทุกข์ คือ ไม่รู้ปฏิปทาหรือข้อปฏิบัติอันจะนำไปสู่ความดับทุกข์ ไม่รู้วิธีที่จะดับทุกข์ คือไม่รู้จักอริยมรรคมีองค์แปดอันเป็นหนทางอันประเสริฐที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์นั่นเอง
เมื่อไม่รู้หนทางแห่งความดับทุกข์ที่แท้จริง ชาวโลกจึงพากันทำวิธีต่าง ๆ เพื่อปรนเปรอตนเองให้ได้รับความสุข เพื่อที่จะบรรเทาความทุกข์ที่เกิดขึ้นลงเสีย โดยหารู้ไม่ว่า วิธีเหล่านั้นเป็นวิธีที่เจือไปด้วยทุกข์ ไม่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง อย่างนี้เรียกว่า ไม่รู้ในหนทางแห่งความดับทุกข์
อวิชาคือความไม่รู้นี้ เปรียบเหมือนความมืดมนอนธการในเวลากลางคืน บุคคลผู้ถูกอวิชชาครอบงำ จึงเปรียบเหมือนบุคคลผู้เดินอยู่ในสถานที่อันมืดมิดในเวลากลางคืน มองไม่เห็นหนทาง ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
หนทางเดียวที่จะออกจากความมืดคืออวิชชานั้นได้ คือจะต้องสร้างแสวงสว่างที่ชื่อว่า วิชชา อันเปรียบเหมือนแสงสว่างที่นำมาส่องให้มองเห็นในเวลากลางคืนได้ วิชชายิ่งมีมากเท่าใด แสงสว่างที่จะทำลายความมืดคืออวิชชาย่อมมีมากเท่านั้น
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ