
อุปาทาน 4 ประการ
อุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่น ความถือมั่น ความยึดติด หมายเอาความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส ความยึดติดอันเนื่องมาจากตัณหา โดยคิดเอาเองว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นความยึดถือที่ผิด เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายเศร้าหมองต่อการดำรงชีวิต มี 4 ประการ คือ
1. กามุปาทาน
กามุปาทาน แปลว่า ความถือมั่นในกาม หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นในกามคุณ 5 ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ ทำให้เกิดความยินดีพอใจหลงใหลติดพัน อยากจะประสบกับสิ่งเหล่านั้นอีก อยากได้มาครอบครอง ทำให้ต้องดิ้นรนแสวงหาอยู่ตลอดเวลา เมื่อได้มาก็ดีใจพอใจ เมื่อไม่ได้มาหรือได้มาแล้วเสียไป ก็เกิดความโศกเศร้าเสียใจ เป็นอย่างนี้ไม่รู้จบ ต้องพบกับความทุกข์ หาความสุขที่แท้จริงไม่เจอ
2. ทิฏฐุปาทาน
ทิฏฐุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่นในทิฏฐิ หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่นหรือยึดติดในลัทธิ หลักทฤษฎี หรือหลักความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนเองชอบใจ หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสิ่งที่ตนเชื่อมั่น หรือตรงกับความคิดเห็นของตนนั่นเอง
เมื่อมีความยึดมั่นในทิฏฐิเช่นนี้ ย่อมปฏิเสธความเห็นของผู้อื่นที่ขัดกับแนวความคิดความเชื่อของตนเอง คนอื่นเห็นต่างไม่ได้ ต้องมีความรู้สึกขัดแย้ง หรือทะเลาะวิวาทกัน โต้เถียงกัน เพราะต่างฝ่ายต่างเห็นว่าตนเป็นผู้ถูกอยู่ฝ่ายเดียว
ทิฏฐุปาทานนี้ เป็นเหตุปิดกั้นปัญญาให้คับแคบ ไม่สามารถถือเอาประโยชน์อันจะก่อให้เกิดความรู้ในสิ่งต่าง ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ได้ ควรละเสีย
3. สีลัพพตุปาทาน
สีลัพพตุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่นในศีลและพรต หมายถึง ความยึดมั่นยึดติดในข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ หรือระเบียบธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ยึดถือปฏิบัติสืบ ๆ กันมาอย่างงมงาย เข้าใจว่าจะสามารถบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลวัตรหรือหลักปฏิบัตินั้น ๆ โดยไม่เข้าใจความหมายและจุดมุ่งหมายที่แท้จริง ไม่ได้เป็นไปด้วยความรู้ความเข้าใจตามหลักเหตุและผล
สีลัพพตุปาทานนี้ เป็นเหตุนำไปสู่การปฏิบัติอย่างงมงาย และไม่สามารถเข้าถึงจุดมุ่งหมายอันแท้จริงได้ ควรละเสีย
4. อัตตวาทุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน แปลว่า ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน หมายถึง ความยึดถือหรือสำคัญหมายว่าเป็นตัวตน มีตัวตน เช่น เห็นว่าขันธ์ 5 เป็นตัวตน มองไม่เห็นสภาวะที่แท้จริงของสิ่งทั้งปวง ว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุมประกอบกันเข้า เป็นไปตามเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันเข้าเท่านั้น
อัตตวาทุปาทานนี้ เป็นเหตุให้เกิดมานะคือความถือตัว แบ่งแยกเป็นพวกเราพวกเขา และเกิดความถือพวกขึ้น ควรละเสีย
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ