
สุทธาวาส 5 ชั้น
สุทธาวาส แปลว่า ภูมิอันเป็นที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์ เป็นชื่อของพรหมโลกอันเป็นที่เกิดและที่อยู่ของพระอนาคามี กล่าวคือ บุคคลผู้ได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีแล้ว แต่ยังไม่สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ในชาตินี้ เมื่อดับขันธ์ไปแล้วจะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส และจะไม่กลับมาเกิดในโลกอีก แต่จะบรรลุอรหัตตผลเข้าสู่พระนิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น
สุทธาวาส เป็นพรหมโลก 5 ชั้นสุดท้ายในพรหมโลกอันเป็นส่วนรูปพรหมทั้งหมด 16 ชั้น ประกอบด้วย
1. อวิหา
อวิหา ภูมิของพรหมผู้ไม่ยอมละที่อยู่ของตน ท่านผู้ไม่เสื่อมจากสมาบัติของตน หรือผู้ไม่ละไปเร็ว ผู้คงอยู่นาน
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอวิหานี้ จะเสวยทิพยสมบัติที่มีอยู่อย่างพร้อมมูลไปจนกว่าจะสิ้นอายุขัยจึงจะเข้าสู่นิพพาน
พรหมโลกชั้นนี้มีกำหนดอายุ 1,000 มหากัป
2. อตัปปา
อตัปปา ภูมิของพรหมผู้ไม่มีความสะดุ้งหวาดกลัวต่ออะไร ผู้ไม่ทำความเดือดร้อนแก่ใคร หรือผู้ไม่เดือดร้อนกับใคร
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอตัปปานี้จะเข้าฌานเสวยสุขตลอดเวลา ทำให้นิวรณธรรมทั้งหลายถูกกำลังแห่งฌานข่มไว้ตลอดเวลาจนไม่มีช่องให้เกิดขึ้นได้ จิตใจของพรหมเหล่านั้นจึงมีแต่ความสงบเย็น ไม่มีความเดือดร้อนใด ๆ
พรหมโลกชั้นนี้มีกำหนดอายุ 2,000 มหากัป
3. สุทัสสา
สุทัสสา ภูมิของพรหมผู้มีร่างอันงดงาม พรหมผู้งดงามน่าทัศนา
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นสุทัสสานี้จะมีรัศมีที่งดงามแผ่ซ่านออกจากร่างกาย ทำให้ผู้ที่พบเห็นมีความยินดีและสุขใจยิ่งนัก นอกจากนี้ พรหมผู้เกิดในชั้นนี้ยังเป็นผู้บริบูรณ์ด้วยจักษุ 4 ประการ คือ
- ปสาทจักษุ สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน
- ทิพพจักษุ มีตาทิพย์ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ
- ธัมมจักษุ มีญาณเป็นเครื่องรู้แจ้งในโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค และอนาคามิมรรค
- ปัญญาจักษุ รู้แจ้งในวิปัสสนาญาณ ปัจจเวกขณญาณ และอภิญญาต่าง ๆ
พรหมโลกชั้นนี้มีกำหนดอายุ 4,000 มหากัป
4. สุทัสสี
สุทัสสี ภูมิของพรหมผู้มีความงดงามยิ่งกว่าพรหมชั้นสุทัสสา เหล่าพรหมผู้มองเห็นชัดเจนดี ผู้มีทัศนาแจ่มชัด
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นสุทัสสีนี้จะมีคุณสมบัติเหมือนพรหมชั้นสุทัสสาทุกประการ แต่จะมีความประณีตยิ่งกว่า
พรหมโลกชั้นนี้มีกำหนดอายุ 8,000 มหากัป
5. อกนิฏฐา
อกนิฏฐา ภูมิของพรหมผู้สูงสุด ผู้ไม่มีความด้อยหรือเล็กน้อยไปกว่าใคร
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอกนิฏฐานี้ถือว่าเป็นพรหมชั้นสูงสุด เป็นผู้มีบารมีเต็มเปี่ยมแล้ว จะสามารถบรรลุอรหัตตผลเข้าถึงพระนิพพานได้อย่างแน่นอน
พรหมโลกชั้นนี้มีกำหนดอายุ 16,000 มหากัป
ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา อตัปปา สุทัสสา และสุทัสสี ถ้าหากหมดอายุแล้วแต่ยังไม่สามารถบรรลุอรหัตตผลได้ ก็จะจุติจากพรหมโลกชั้นนั้น ๆ และอุบัติในพรหมโลกชั้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ
แต่ผู้ที่เกิดในพรหมโลกชั้นอกนิฏฐา จะบรรลุอรหัตตผลเข้าถึงพระนิพพานในชั้นนี้อย่างแน่นอน ไม่มีการจุติแล้วไปอุบัติในชั้นอื่นอีกต่อไป เพราะชั้นนี้เป็นพรหมโลกชั้นสุดท้ายและเป็นชั้นที่สูงสุดกว่าพรหมโลกทั้งปวง
พระอนาคามีที่จะไปเกิดในสุทธาวาสชั้นต่าง ๆ ตัดสินที่ตรงไหน
พระอนาคามี หากไม่สามารถบรรลุอรหัตตลผลเข้าถึงพระนิพพานในชาตินี้ได้ เมื่อดับขันธ์ไปแล้ว จะไปเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส 5 ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของอินทรีย์ที่แก่กล้าต่างกัน ดังนี้
- พระอนาคามีที่มีสัทธินทรีย์แก่กล้า จะไปเกิดในชั้นอวิหา
- พระอนาคามีที่มีวิริยินทรีย์แก่กล้า จะไปเกิดในชั้นอตัปปา
- พระอนาคามีที่มีสตินทรีย์แก่กล้า จะไปเกิดในชั้นสุทัสสา
- พระอนาคามีที่มีสมาธินทรีย์แก่กล้า จะไปเกิดในชั้นสุทัสสี
- พระอนาคามีที่มีปัญญินทรีย์แก่กล้า จะไปเกิดในชั้นอกนิษฐา
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ