
สังวร 5 ประการ
สังวร แปลว่า การสำรวม การระมัดระวัง หมายถึง การระมัดระวังไม่ให้บาปอกุศลเกิดขึ้น มี 5 ประการ คือ
1. สีลสังวร
สีลสังวร แปลว่า การสำรวมระวังด้วยศีล ได้แก่ การป้องกันบาปด้วยการสมาทานรักษาศีล เมื่อเราสมาทานศีลแล้ว ไม่ละเมิดศีลนั้น ๆ เป็นอันรักษาศีลด้วยดี บาปอกุศลก็ไม่เกิดขึ้น เป็นการป้องกันบาปอกุศลได้อย่างดี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ปาติโมกขสังวร
2. สติสังวร
สติสังวร แปลว่า การสำรวมระวังด้วยสติ ได้แก่ การมีสติระมัดระวังไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายในเมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องสัมผัส และธัมมารมณ์กระทบใจ เมื่อมีสติรู้เท่าทันระมัดระวังอยู่ตลอดเวลาอย่างนี้ บาปอกุศลก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
3. ญาณสังวร
ญาณสังวร แปลว่า การสำรวมระวังด้วยญาณ หมายถึง การใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง เพื่อเป็นการตัดกระแสแห่งกิเลสอันเป็นสาเหตุแห่งบาปอกุศลทั้งหลาย รวมทั้งการใช้ปัญญาพิจารณาใช้สอยปัจจัย 4 ไม่ให้เป็นไปเพื่อบาปอกุศล
4. ขันติสังวร
ขันติสังวร แปลว่า การสำรวมระวังด้วยความอดทน หมายถึง การมีความอดทนอดกลั้นไม่ให้มีใจหวั่นไหวไปตามอารมณ์ทั้งหลายอันเป็นสาเหตุแห่งการทำบาป ไม่ให้มีใจเอนเอียงไปในความยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวง เมื่อทำได้ดังนี้ บาปอกุศลทั้งหลายก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้
5. วิริยสังวร
วิริยสังวร แปลว่า การสำรวมระวังด้วยความเพียร หมายถึง การใช้ความเพียรในทางที่ถูกที่ควร ใช้ความเพียรในทางที่เป็นไปเพื่อป้องกันและกำจัดบาปอกุศลทั้งหลาย ได้แก่ ปธาน 4 คือ
- สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น
- ปหานปธาน เพียรกำจัดบาปที่มีอยู่ให้หมดไป
- ภาวนาปธาน เพียรทำกุศลให้เกิดขึ้น
- อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลที่มีอยู่แล้ว รักษาคุณงามความดีให้คงอยู่
สังวรทั้ง 5 ประการนี้ เป็นธรรมเครื่องช่วยป้องกันบาปอกุศลทั้งหลายไม่ให้เกิดขึ้น และช่วยพอกพูนกุศลทั้งหลายให้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ