
โอฆะ 4 ประการ
โอฆะ แปลว่า ห้วงน้ำ หมายถึง สภาวะอันเป็นดุจกระแสน้ำหลากท่วมใจสัตว์ กิเลสที่เป็นเหมือนห้วงน้ำที่พัดพาสรรพสัตว์ให้จมอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏ กิเลสดุจน้ำท่วมพาผู้ตกไปให้พินาศ โอฆะนี้ เรียกว่า โยคะ บ้าง เพราะเป็นกิเลสที่ผูกมัดสรรพสัตว์ไว้ในภพ เรียกว่า อาสวะ บ้าง เพราะเป็นกิเลสที่หมักหมมฝังแน่นอยู่ในสันดานของสรรพสัตว์ มี 4 ประการ คือ
1. กาโมฆะ
กาโมฆะ โอฆะคือกาม หรือ ห้วงน้ำคือกาม ได้แก่ ความกำหนัดยินดีในกามคุณ 5 ที่น่าใคร่น่าพอใจ เมื่อสัตว์ทั้งหลายถูกกาโมฆะครอบงำ ย่อมยินดีหลงใหลในรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่น่าพอใจ ติดอยู่ในกามคุณเหล่านั้นหาทางออกไม่ได้ ต้องดิ้นรนแสวงหากามคุณเหล่านั้นมาบำรุงบำเรอตน ทำให้ต้องเป็นทุกข์อยู่ร่ำไป
2. ภโวฆะ
ภโวฆะ โอฆะคือภพ หรือ ห้วงน้ำคือภพ หมายถึง ความอยากมีอยากเป็นในภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนปรารถนา เช่น อยากมีเงินมาก ๆ อยากเป็นเศรษฐี อยากเป็นดารา อยากมีชื่อเสียง อยากมียศถาบรรดาศักดิ์ แล้วดิ้นรนขวนขวายเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านั้นมา เมื่อได้มาแล้วก็ดีใจ เมื่อไม่ได้มาก็เป็นทุกข์ หรือเมื่อมีอยู่แล้วถึงคราวต้องสูญเสียสิ่งเหล่านั้นไปก็เป็นทุกข์
3. ทิฏโฐฆะ
ทิฏโฐฆะ โอฆะคือทิฏฐิ หรือ ห้วงน้ำคือทิฏฐิ ได้แก่ ความเห็น หมายเอาความเห็นที่ผิดจากทำนองคลองธรรม เห็นผิดจากความเป็นจริง หรือความเห็นที่ตรงข้ามกับสัมมาทิฏฐิทั้งหมด เช่น เห็นว่าบาปบุญคุณโทษไม่มี นรกสวรรค์ไม่มี มารดาบิดาไม่มีคุณ เป็นต้น ผู้ที่ถูกทิฏโฐฆะครอบงำ ย่อมสามารถทำบาปต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย เพราะเมื่อความเห็นผิดเสียแล้ว การทำ การพูด การคิด ย่อมเป็นไปในทางที่ผิดด้วยเช่นกัน
4. อวิชโชฆะ
อวิชโชฆะ โอฆะคืออวิชชา หรือ ห้วงน้ำคืออวิชชา ได้แก่ ความไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 คือ ไม่รู้แจ้งในทุกข์ ไม่รู้แจ้งในเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่รู้แจ้งในความดับทุกข์ และไม่รู้แจ้งในปฏิปทาอันเป็นหนทางไปสู่ความดับทุกข์ ผู้ที่ถูกอวิชชาครอบงำ ย่อมตกอยู่ในวังวนแห่งสังสารวัฏอันมืดมิด ไม่สามารถนำตนให้หลุดพ้นจากกองทุกข์อันยิ่งใหญ่ได้
โอฆะคือกิเลสเปรียบด้วยห้วงน้ำใหญ่ทั้ง 4 ประการนี้ เป็นสิ่งที่ดูดกลืนสรรพสัตว์ให้จมลงเหมือนห้วงน้ำที่ดูดให้จมลงในทะเลใหญ่ ต้องพยายามกำจัดเสียให้ได้ หาไม่แล้ว ย่อมไม่มีวันที่จะหลุดพ้นจากห้วงมหรรณพภพสงสารนี้ได้
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ