
ขนฺติ หิตสุขาวหา.
[คำอ่าน : ขัน-ติ, หิ-ตะ-สุ-ขา-วะ-หา]
“ความอดทน นำมาซึ่งประโยชน์สุข”
(ส.ม.)
ความอดทน คือ อาการที่ไม่หวั่นไหวทั้งทางกายและทางใจ ในเมื่อประสบกับสภาพที่ไม่น่าพอใจ ๔ ประเภท คือ
- ธรรมชาติมีความหนาวความร้อนเป็นต้น
- ความเหนื่อยยากลำบากในการทำงาน
- ทุกขเวทนา
- ความเจ็บใจ
คนที่มีความอดทน ไม่หวั่นไหวต่อสภาวะของธรรมชาติคือ ร้อน หนาว ฝนตก แดดออก ไม่ย่อท้อต่อความลำบากตรากตรำในการทำมาหาเลี้ยงชีพ ไม่หวั่นไหวต่อทุกขเวทนา และอดทนต่อความเจ็บใจเสียได้ ย่อมประสบแต่ความสุขความเจริญ สามารถปฏิบัติหน้าที่การงานให้สำเร็จลุล่วงได้
นอกจากนั้น ขันติ ยังเป็นปราการด่านแรกที่จะป้องกันกิเลสได้ คือเมื่อกิเลสเกิดขึ้น ถ้าเรามีขันติคือความอดทนอดกลั้น อดทนต่ออำนาจของกิเลสนั้นได้ กิเลสก็จะไม่สามารถครอบงำจิตใจได้ ไม่สามารถบงการจิตใจให้ทำสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายตามอำนาจของมันได้ ผลร้ายอันจะเกิดจากการทำตามอำนาจของกิเลสก็จะไม่เกิดขึ้น
จึงกล่าวได้ว่า ขันตินี้เป็นธรรมที่นำประโยชน์สุขมาให้ทั้งในแง่ของการปฏิบัติหน้าที่การงาน ทั้งในแง่ของการปฏิบัติธรรมเพื่อกำจัดทุกข์เลยทีเดียว
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา