
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา.
[คำอ่าน : ขัน-ตี, ปะ-ระ-มัง, ตะ-โป, ตี-ติก-ขา]
“ขันติ คือ ความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง”
(ที.มหา. ๑๐/๕๗, ขุ.ธ. ๒๕/๔๐)
ขันติ คือ ความอดทน ได้แก่อาการที่ไม่หวั่นไหว ทนอยู่ได้ ไม่ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสที่ครอบงำจิตใจ ทำให้กิเลสไม่สามารถลุกลามใหญ่โตได้
ขันตินี้ถือว่าเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง คือ เป็นเครื่องเผาผลาญกิเลสชั้นยอด เมื่อเกิดกิเลสขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความโลภ ความโกรธ หรือความหลง ถ้าเรามีขันติธรรม ขันติตัวนี้จะเป็นตัวที่ยับยั้งกิเลสนั้น ไม่ให้มันลุกลาม คือเราสามารถใช้ขันติคือความอดทนนี้ข่มกิเลสเหล่านั้นไว้ก่อนได้
เมื่อกิเลสลุกลามไม่ได้ มันก็จะเบาบางลง และเราสามารถใช้หลักธรรมข้ออื่น ๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสตัวนั้น ๆ มาทำลายมันเสียได้ ก็จะทำให้เราหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ คือไม่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกิเลสนั้น ๆ ในขณะนั้น ๆ
ดังนั้น ขันตินี้จึงเป็นคุณธรรมที่ควรบำเพ็ญเป็นอย่างยิ่ง คือควรฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติอย่างแรงกล้า ไม่ว่ากิเลสตัวใดจะเกิดขึ้นมา ขันตินี่แหละที่จะเป็นประการด่านแรกที่จะต่อต้านกำลังของกิเลสเหล่านั้น ถ้าขันติมีกำลังกล้า ก็จะสามารถต้านกิเลสไว้ได้ แต่ถ้าขันติมีกำลังน้อย ก็จะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของกิเลสไป
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา