
ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน.
[คำอ่าน : ขัน-ติ, ตะ-โป, ตะ-ปัด-สิ-โน]
“ความอดทน เป็นตบะของผู้พากเพียร”
(ส.ม.)
ขันติ คือ ความอดทน หมายถึง อาการที่ไม่หวั่นไหวทั้งทางกายและทางใจ มีความอดทนอยู่ได้เมื่อเกิดความโกรธ ความโลภ ความหลง ขึ้นมาในจิตในใจ อดทนต่ออำนาจความบีบคั้นรบกวนของกิเลสเหล่านั้น ไม่ยอมให้มันครอบงำบงการจิตใจได้
ตบะ หมายถึง ความเพียรเครื่องเผากิเลส คือผู้แสวงหาหนทางดับทุกข์นั้น ต้องมีตบะธรรม เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อเผากิเลส คือทำลายกิเลสให้ย่อยยับวอดวายไป ไม่ให้มันเข้าควบคุมครอบงำจิตใจได้
คำว่า ผู้พากเพียร ในที่นี้หมายถึง ผู้ที่มีความเพียรพยายามเพื่อกำจัดกิเลสตัณหาออกจากจิตจากใจของตนเอง คือผู้แสวงหาหนทางดับทุกข์ เช่น พระภิกษุผู้บำเพ็ญสมณธรรมเพื่อกระทำที่สุดแห่งทุกข์ เป็นต้น
ขันติคือความอดทนนั้น นับว่าเป็นตบะธรรมอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อเกิดกิเลสขึ้นมาแล้ว ผู้ที่มีขันติ ย่อมสามารถข่มกิเลสเหล่านั้นไว้ได้ อดทนต่ออำนาจของกิเลสเหล่านั้นได้ ไม่ปล่อยให้มันครอบงำจิตใจ ไม่ให้ลุกลามใหญ่โต หลังจากนั้นค่อยใช้คุณธรรมข้ออื่น ๆ กำจัดมันเสีย
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา