
ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ.
[คำอ่าน : ขัน-ติ, พะ-ลัง, วะ, ยะ-ตี-นัง]
“ความอดทน เป็นกำลังของท่านนักพรต”
(ส.ม.)
คำว่า “นักพรต” หมายถึง ผู้ที่ตั้งใจปฏิบัติเพื่อขัดเกลาจิตใจตน เพื่อกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปจากจิตใจตน ในที่นี้หมายถึงนักบวชในพระพุทธศาสนา ผู้ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว สละการใช้ชีวิตอย่างคฤหัสถ์ มาอยู่ในเพศของบรรพชิต ผู้ละทางโลก มุ่งบำเพ็ญธรรมเพื่อความพ้นทุกข์
ผู้ที่มีความเพียรพยายามที่จะขจัดปัดเป่ากิเลสออกจากจิตจากใจนั้น ย่อมถูกกิเลสรบกวนอย่างหนักหน่วง ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็งพอ ย่อมจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสตัณหาเสียได้ง่าย ๆ
ขันติ เป็นตบะธรรมอย่างหนึ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกิเลสตัณหา ผู้ที่มีขันติธรรมประจำใจ ย่อมสามารถใช้ขันติธรรมนี้ข่มกิเลสตัณหาไว้เสียได้ คืออดทนต่ออำนาจของกิเลสเหล่านั้นได้ ไม่ปล่อยให้มันเข้าครอบงำจิตใจ จึงไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกิเลสเหล่านั้น
ขันติธรรม เปรียบเหมือนกำแพงเมืองที่แข็งแรง ป้องกันข้าศึกที่มาจากทั่วทุกทิศ ไม่ให้สามารถเข้ามายึดครองเมืองได้ นักพรตผู้ที่มีขันติธรรม ก็เหมือนเมืองที่มีกำแพงที่แข็งแกร่งนั่นเอง จะไม่ถูกกิเลสครอบงำจิตใจ ไม่ทำตามอำนาจของกิเลส เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ขันติเป็นกำลังของนักพรต
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา