
ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา.
[คำอ่าน : ขัน-ติ-พะ-ลา, สะ-มะ-นะ-พราม-มะ-นา]
“สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง”
(ส.ม.)
สมณพราหมณ์ หมายถึง ผู้ที่ละทางโลกออกบวชเพื่อแสวงหาทางหลุดพ้นจากทุกข์ในวัฏสงสาร พยายามปฏิบัติขัดเกลาจิตใจตน ให้พ้นจากความเป็นทาสของกิเลสตัณหา
ขันติ เป็นคุณธรรมข้อหนึ่งที่ช่วยให้สมณพราหมณ์สามารถอดทนอดกลั้นต่ออำนาจของกิเลส ไม่ให้หลงยินดียินร้ายในกามคุณคือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เกิดขึ้นกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่ให้ถูกกิเลสครอบงำบงการให้เป็นไปต่าง ๆ ตามอำนาจของมัน
ผู้มีขันติ ย่อมสามารถที่จะระงับยับยั้งอารมณ์ โลภ โกรธ หลง เอาไว้ได้ ไม่ให้มันครอบงำจิตใจและสั่งการให้กระทำความชั่วทั้งหลายตามอำนาจของมัน
ดังนั้น ขันติ จึงถือว่าเป็นกำลังอย่างหนึ่งของสมณพราหมณ์ ที่ทำหน้าทีเป็นเหมือนปราการด่านแรกที่คอยป้องกันข้าศึกคือกิเลส ไม่ให้เข้ายึดครองเมืองคือจิตของสมณพราหมณ์ได้ เมื่อกิเลสเข้ายึดครองจิตไม่ได้ จิตก็ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส ไม่ต้องถูกกิเลสบงการ
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา