อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก “ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก”

อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก "ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก"

อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลเก.

[คำอ่าน : อับ-พะ-ยา-ปัด-ชัง, สุ-ขัง, โล-เก]

“ความไม่เบียดเบียน เป็นสุขในโลก”

(วิ.มหา. ๔/๖, ขุ.อุ. ๒๕/๘๖)

ความเบียดเบียน คือ การทำให้คนอื่นหรือสัตว์อื่นเดือดร้อน หรือการข่มเหงรังแกกัน ไม่ว่าจะเป็นทางกาย ทางวาจา หรือทางใจก็ตาม

ความเบียดเบียนทางกาย ได้แก่ การข่มเหงรังแกผู้อื่น การทำร้ายร่างกาย หรือการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่ผู้อื่น ทำให้เขาต้องเป็นทุกข์เดือดร้อน

ความเบียดเบียนทางวาจา ได้แก่ การใช้วาจาทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์เดือดร้อน เช่น การด่า การนินทา การว่าร้าย เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดทุกข์เกิดโทษแก่ผู้อื่น

ความเบียดเบียนทางใจ ได้แก่ การคิดอาฆาตพยาบาทผู้อื่น คิดไปในทางที่จะสร้างทุกข์สร้างโทษให้แก่ผู้อื่น

การเบียดเบียนทั้ง ๓ ประการนั้น เป็นการสร้างความทุกข์ให้เกิดทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นด้วย และยังเป็นการก่อเวรไม่รู้จบสิ้นอีกด้วย

ในทางตรงกันข้าม หากมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันด้วยความเมตตาและเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน ดำรงชีวิตโดยยึดหลักพรหมวิหารธรรม ๔ ประการ ความทุกข์ความเดือดร้อนย่อมจะไม่มี จะมีก็แต่ความสุขกายสบายใจเท่านั้น


สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต


ดูอักษรย่อบอกนามคัมภีร์ได้ที่นี่