
อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
อาวาสิกธรรม คือ ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 5 ประเภทอนุเคราะห์คฤหัสถ์ มี 5 ประการ คือ
1. ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏิบัติในอธิศีล
ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏิบัติในอธิศีล เอาใจใส่ชักชวนแนะนำชาวบ้านให้สมาทานในอธิศีล คือ ให้รักษาศีล 5 ที่เป็นพื้นฐานเพื่อก้าวขึ้นสู่คุณความดีที่สูงขึ้นไป อธิศีลในที่นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่เบญจศีลที่เป็นไปเพื่อคุณเบื้องสูง
2. ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ
ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ เอาใจใส่ชี้แจงแสดงธรรมแนะนำชาวบ้านให้รู้เห็นเข้าใจธรรม ภิกษุผู้เป็นเจ้าอาวาส พึงเป็นผู้มีความสามารถในการกล่าวธรรมแสดงธรรมให้แก่ผู้ที่เข้าหาพอเหมาะพอควรแก่วัยวุฒิของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ มีความยินดีที่จะนำหลักธรรมคำสอนแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปปฏิบัติขัดเกลาตน
3. ไปเยี่ยมให้สติคนเจ็บไข้
ไปเยี่ยมให้สติคนเจ็บไข้ หากมีญาติโยมภายในละแวกบ้านที่คอยถวายการอุปถัมภ์ถึงคราวต้องเจ็บไข้ได้ป่วย พึงไปเยี่ยมเยียนถามข่าวสารทุกข์สุกดิบเพื่อให้รู้ความเป็นมาเป็นไปและให้กำลังใจ ให้ธรรมะ ให้สติ แก่คนเจ็บไข้นั้น ๆ เขาจะได้มีกำลังใจและมีสติ ไม่เป็นทุกข์ใจไปกับอาการเจ็บไข้เกินไปนัก
4. บอกกล่าวในคราวจะได้ทำบุญแก่มหาสงฆ์
บอกกล่าวในคราวจะได้ทำบุญแก่มหาสงฆ์ เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ เป็นการเปิดโอกาสหรือสร้างโอกาสให้ชาวบ้านผู้มีศรัทธาทั้งหลายได้ทำบุญกับสงฆ์หมู่ใหญ่ประการหนึ่ง เป็นการสงเคราะห์ภิกษุอาคันตุกะผู้มาจากแดนไกลประการหนึ่ง
5. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป ชาวบ้านถวายโภชนะใดๆ จะด้อยหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ทำของที่เขาถวายด้วยศรัทธาให้หมดคุณค่าไปเสีย การรักษาศรัทธาของญาติโยมเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยเสียมิได้ ญาติโยมเขาลำบากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกว่าจะได้เงินมา กว่าจะหาข้าวปลาอาหารมาถวายพระสงฆ์สามเณรได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และหากไม่มีศรัทธาเสียแล้วเขาย่อมไม่ถวาย ดังนั้น เมื่อญาติโยมเขามีศรัทธา พึงรักษาศรัทธาของเขาไว้ให้ดี อย่าทำให้เขาต้องเสียศรัทธา
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ