
อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
อาวาสิกธรรม คือ ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 6 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ มี 5 ประการ คือ
1. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน
เจ้าอาวาส ย่อมมีหน้าที่ต้องปกครองพระภิกษุสามเณรทั้งปวงที่อาศัยอยู่ภายในวัด ธรรมดาคนอยู่ร่วมกันหมู่มาก ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนดื้อและคนว่าง่าย ในสังคมของพระภิกษุสามเณรก็เช่นเดียวกัน พระเณรที่หัวดื้อหรือเกเรก็ย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสที่จะต้องกล่าวตำหนิติเตียนพระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติไม่ดี ไม่อยู่ในร่องในรอยบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและไม่เป็นการทำลายศรัทธาของญาติโยม
2. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ
นอกจากการตำหนิติเตียนพระภิกษุสามเณรที่ประพฤติไม่ดีแล้ว สำหรับภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติดี มีกิริยาเรียบร้อย สร้างคุณประโยชน์แก่วัดวาอาราม เจ้าอาวาสก็พึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบ้าง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้พระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติดีน่าสรรเสริญเหล่านั้นมีกำลังใจที่จะรักษาพระธรรมวินัยต่อไป
3. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความไม่เลื่อมใส ในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส
พระภิกษุผู้เจ้าเจ้าอาวาสต้องมีความชัดเจนในการแสดงออกทางพฤตินัย เช่น สิ่งใดหรือกิริยาอาการใดที่เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ผิด เป็นของนอกรีตนอกราย ไม่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ไม่น่าเลื่อมใส ก็พึงแสดงความไม่เลื่อมใสในสิ่งนั้น ๆ อย่างชัดเจน เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้เห็น จะได้รู้ว่าสิ่งใดไม่ควรประพฤติ หรือไม่ควรเลื่อมใส
4. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความเลื่อมใส ในฐานะอันควรเลื่อมใส
พระภิกษุผู้เจ้าเจ้าอาวาสต้องมีความชัดเจนในการแสดงออกทางพฤตินัย เช่น สิ่งใดหรือกิริยาอาการใดที่เป็นสิ่งที่ดี เป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม เป็นไปตามพระธรรมวินัย น่าเลื่อมใส ก็พึงแสดงความเลื่อมใสในสิ่งนั้น ๆ อย่างชัดเจน เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้อื่นได้เห็น จะได้รู้ว่าสิ่งใดควรประพฤติ หรือควรเลื่อมใส
5. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป ชาวบ้านถวายโภชนะใดๆ จะด้อยหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ทำของที่เขาถวายด้วยศรัทธาให้หมดคุณค่าไปเสีย การรักษาศรัทธาของญาติโยมเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยเสียมิได้ ญาติโยมเขาลำบากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกว่าจะได้เงินมา กว่าจะหาข้าวปลาอาหารมาถวายพระสงฆ์สามเณรได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และหากไม่มีศรัทธาเสียแล้วเขาย่อมไม่ถวาย ดังนั้น เมื่อญาติโยมเขามีศรัทธา พึงรักษาศรัทธาของเขาไว้ให้ดี อย่าทำให้เขาต้องเสียศรัทธา
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ