
อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
อาวาสิกธรรม คือ ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 8 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ อีกหมวดหนึ่ง มี 5 ประการ คือ
1. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน
เจ้าอาวาส ย่อมมีหน้าที่ต้องปกครองพระภิกษุสามเณรทั้งปวงที่อาศัยอยู่ภายในวัด ธรรมดาคนอยู่ร่วมกันหมู่มาก ย่อมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนดื้อและคนว่าง่าย ในสังคมของพระภิกษุสามเณรก็เช่นเดียวกัน พระเณรที่หัวดื้อหรือเกเรก็ย่อมมีบ้างเป็นธรรมดา จึงเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสที่จะต้องกล่าวตำหนิติเตียนพระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติไม่ดี ไม่อยู่ในร่องในรอยบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและไม่เป็นการทำลายศรัทธาของญาติโยม
2. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ
นอกจากการตำหนิติเตียนพระภิกษุสามเณรที่ประพฤติไม่ดีแล้ว สำหรับภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติดี มีกิริยาเรียบร้อย สร้างคุณประโยชน์แก่วัดวาอาราม เจ้าอาวาสก็พึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบ้าง เพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้พระภิกษุสามเณรที่มีความประพฤติดีน่าสรรเสริญเหล่านั้นมีกำลังใจที่จะรักษาพระธรรมวินัยต่อไป
3. ไม่มีอาวาสมัจฉริยะ
ไม่มีอาวาสมัจฉริยะ คือ ไม่ตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย เมื่อมีภิกษุอาคันตุกะเดินทางมาจากแดนไกลมาขอพักอาศัย ผู้เป็นเจ้าอาวาสไม่พึงหวงแหนเสนาสนะ พึงมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่อยู่อาศัยสำหรับพักค้างแรมแก่ภิกษุอาคันตุกะนั้นตามสมควร
4. ไม่มีกุลมัจฉริยะ
ไม่มีกุลมัจฉริยะ คือ ไม่ตระหนี่หวงแหนตระกูลอุปัฏฐาก การหวงแหนตระกูลอุปัฏฐากเป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งปวงไม่พึงกระทำ ตระกูลอุปัฏฐากเหล่านั้นย่อมมีสิทธิ์โดยชอบธรรมที่จะถวายการอุปัฏฐากภิกษุรูปอื่น ๆ ที่ตนศรัทธาเลื่อมใสได้โดยไม่มีข้อยกเว้นหรือข้อจำกัดใด ๆ การที่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งหวงแหนตระกูลอุปัฏฐากนั้น ย่อมเป็นการแสดงความเห็นแก่ตัวของตนอย่างหนึ่ง เป็นการตัดโอกาสของตระกูลอุปัฏฐากในการบำเพ็ญบุญให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกประการหนึ่ง ดังนั้น การหวงแหนตระกูลอุปัฏฐากจึงเป็นสิ่งที่ภิกษุไม่พึงกระทำ
5. ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป
ไม่ทำศรัทธาไทยให้ตกไป ชาวบ้านถวายโภชนะใดๆ จะด้อยหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ทำของที่เขาถวายด้วยศรัทธาให้หมดคุณค่าไปเสีย การรักษาศรัทธาของญาติโยมเป็นสิ่งสำคัญที่จะละเลยเสียมิได้ ญาติโยมเขาลำบากตรากตรำทำงานหามรุ่งหามค่ำกว่าจะได้เงินมา กว่าจะหาข้าวปลาอาหารมาถวายพระสงฆ์สามเณรได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ และหากไม่มีศรัทธาเสียแล้วเขาย่อมไม่ถวาย ดังนั้น เมื่อญาติโยมเขามีศรัทธา พึงรักษาศรัทธาของเขาไว้ให้ดี อย่าทำให้เขาต้องเสียศรัทธา
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ