
องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
องค์แห่งพระธรรมกถึก หรือ ธรรมเทสกธรรม คือ ธรรมของนักเทศก์ ธรรมที่ผู้แสดงธรรมหรือสั่งสอนคนอื่นควรตั้งไว้ในใจ เป็นหลักการที่นักแสดงธรรมต้องจดจำและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การแสดงธรรมนั้นเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่เป็นไปเพื่อลาภยศสรรเสริญ และไม่กระทบกระทั่งผู้ใดผู้หนึ่ง องค์แห่งพระธรรมกถึก มี 5 ประการ คือ
1. อนุปุพฺพิกถํ
อนุปุพฺพิกถํ กล่าวความไปตามลำดับ คือ แสดงธรรมไปโดยลำดับไม่ตัดลัดให้ขาดความ แสดงธรรมตามลำดับความสำคัญ ความยากง่ายลุ่มลึก เตรียมเนื้อหาไว้ก่อนว่าจะแสดงธรรมเรื่องอะไร หัวข้อไหนยากหัวข้อไหนง่าย หัวข้อไหนควรแสดงก่อน หัวข้อไหนควรแสดงทีหลัง แล้วจึงแสดงธรรมไปตามลำดับที่เตรียมไว้ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังมากที่สุด
2. ปริยายทสฺสาวี
ปริยายทสฺสาวี อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ คือ ชี้แจงให้เข้าใจชัดในแต่ละแง่แต่ละประเด็น โดยยกเหตุผลขึ้นมาอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจ ยกอุปมาอุปไมยขึ้นมาประกอบเพื่อให้เนื้อความที่อธิบายนั้นกระจ่างชัดมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง และมีความอาจหาญที่จะนำหลักธรรมที่ได้รับฟังนั้นไปฏิบัติหรือถ่ายทอดต่อ
3. อนุทยตํ ปฏิจฺจ
อนุทยตํ ปฏิจฺจ แสดงธรรมด้วยอาศัยเมตตา คือ ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง สอนเขาด้วยจิตเมตตา มุ่งจะให้เป็นประโยชน์แก่เขา แสดงธรรมด้วยจิตที่บริสุทธิ์ไม่มีนัยอันเป็นอกุศลใด ๆ แอบแฝง ตั้งใจแสดงธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผูัฟังอย่างแท้จริง
4. น อามิสนฺตโร
น อามิสนฺตโร ไม่แสดงธรรมด้วยเห็นแก่อามิส คือ สอนเขามิใช่เพราะมุ่งที่ตนจะได้ลาภหรือผลประโยชน์ตอบแทน ไม่แสดงธรรมด้วยมุ่งผลประโยชน์ส่วนตน เช่น หวังลาภสักการะอันจะเกิดจากการแสดงธรรมนั้น เป็นต้น เพราะหากแสดงธรรมด้วยหวังลาภเสียแล้ว ก็ถือได้ว่าเป็นนักแสดงธรรมที่ไม่ดี เป็นนักค้าขายธรรม ซึ่งผิดหลักการเผยแผ่ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มุ่งแสดงธรรมเพื่อสงเคราะห์ชาวโลก ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
5. อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ
อตฺตานญฺจ ปรญฺจ อนุปหจฺจ แสดงธรรมไม่กระทบตนและผู้อื่น คือ สอนตามหลักตามเนื้อหา มุ่งแสดงอรรถ แสดงธรรม ไม่ยกตน ไม่เสียดสีข่มขี่ผู้อื่น ในขณะแสดงธรรมต้องตัดอารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลายทั้งปวง เช่น ความโกรธ ความเกลียด และอคติทั้งหลาย ออกให้หมด ตั้งใจแสดงธรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังโดยแท้ ไม่ถือโอกาสในการแสดงธรรมเพื่อยกตนข่มคนอื่น หรือพูดจาว่าร้ายให้ใคร ๆ ได้รับความเสียหาย
พระธรรมกถึกหรือผู้มีหน้าที่สั่งสอนผู้อื่นทั้งหลาย พึงตั้งตนอยู่ในองค์แห่งพระธรรมกถึกทั้ง 5 ประการนี้ จึงจะได้ชื่อว่าเป็นพระธรรมกถึกที่ดี เป็นผู้สอนที่ดี
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ