
องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
องค์แห่งภิกษุใหม่ หรือ นวกภิกขุธรรม คือ ธรรมที่ควรฝึกสอนภิกษุบวชใหม่ให้ประพฤติปฏิบัติอย่างมั่นคง ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง จึงจะมีความมั่นคงในพระพุทธศาสนา สามารถดำรงตนเป็นพระภิกษุที่ดี เป็นศาสนทายาทสืบต่อพระพุทธศาสนานาได้ องค์แห่งภิกษุใหม่นั้นมี 5 ประการ คือ
1. ปาติโมกขสังวร
ปาติโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ คือ รักษาศีลอย่างเคร่งครัด เว้นข้อที่ทรงห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต เพื่อไม่ให้เกิดความด่างพร้อยมัวหมอง เพราะศีลเป็นส่วนเบื้องต้นที่จะทำให้พระภิกษุนั้นเป็นพระภิกษุที่ดีได้ ถ้าพระภิกษุไม่สำรวมในพระปาฏิโมกข์ รักษาศีลไม่บริสุทธิ์เสียแล้ว ย่อมไม่เป็นที่เคารพศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ไม่สามารถดำรงตนอยู่ในพระธรรมวินัยได้
2. อินทรียสังวร
อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ คือ การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้ายเมื่อได้เห็นรูปด้วยตา ได้ยินเสียงด้วยหู ได้รับกลิ่นด้วยจมูก ได้ลิ้มรสด้วยลิ้น ได้รับสัมผัสด้วยกาย และได้รับธรรมารมณ์ทางใจ ไม่ให้เกิดกิเลสขึ้นครอบงำ
3. ภัสสปริยันตะ
ภัสสปริยันตะ พูดคุยมีขอบเขต คือ มีขอบเขตในการพูดคุย ให้รู้ว่าเรื่องใดควรคุยเรื่องใดไม่ควรคุย ไม่เอิกเกริกเฮฮา ไม่พูดคุยเกินสมควรแก่สมณสารูป ไม่พูดคุยนอกธรรมนอกวินัย
4. กายวูปกาสะ
กายวูปกาสะ ปลีกกายอยู่สงบ คือ หลีกเร้นอยู่ในที่อันสงบสงัด สมควรแก่การบำเพ็ญสมณธรรม ไม่เที่ยวสุงสิงเฮฮาหรือคลุกคลีด้วยหมู่คณะ อันจะก่อให้เกิดความฟุ้งซ่าน พยายามปลีกตัวออกจากหมู่คณะ หาที่อันสงบสงัดปฏิบัติธรรมนำตนเข้าสู่ทางแห่งความพ้นทุกข์
5. สัมมาทัสสนะ
สัมมาทัสสนะ ปลูกฝังความเห็นชอบ คือ พยายามฝึกตนให้เป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบในระดับจริยธรรม เห็นว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บาปบุญมีจริง นรกสวรรค์มีจริง สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน ผู้ใดทำกรรมใดไว้จักได้รับผลของกรรมนั้น ไปจนถึงความเห็นชอบในอริยสัจ 4 เพื่อให้มีใจฝักใฝ่ในการสร้างคุณงามความดี
ภิกษุผู้บวชใหม่ เมื่อดำรงตนอยู่ในองค์แห่งภิกษุใหม่ 5 ประการนี้ ย่อมสามารถเจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา เป็นศาสนทายาทที่ดีได้ในอนาคต
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ