
เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ ได้แก่ ธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้าไม่เคอะเขินเมื่อต้องเข้าไปยังสมาคมต่าง ๆ และในการทำกิจทั้งปวง มี 5 ประการ คือ
1. ศรัทธา
ศรัทธา แปลว่า ความเชื่อ หมายเอาความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและความดีที่ทำ มีความเชื่อมั่นว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นเป็นความดี มีประโยชน์ ไม่ก่อโทษใด ๆ
2. ศีล
ศีล หมายถึง การรักษากาย วาจา ใจ ให้เรียบร้อยดีงาม คือไม่ประกอบกรรมทุจริตทั้งหลาย มีความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม การที่บุคคลมีความประพฤติที่ดีมีศีลธรรม ย่อมทำให้บุคคลนั้น ๆ มีความองอาจกล้าหาญในสมาคมทั้งปวง
3. พาหุสัจจะ
พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก หรือได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก คนที่มีความรู้มาก เมื่อเข้าไปสู่สมาคมใด ๆ ย่อมมีความแกล้วกล้าไม่เก้อเขิน มีความมั่นใจในตนเองในด้านวิชาความรู้ กล้าเผชิญหน้า กล้าแสดงออก
4. วิริยารัมภะ
วิริยารัมภะ แปลว่า การปรารภความเพียร หมายถึง การที่ได้ลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้น ๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะทำกิจนั้น ๆ ให้สำเร็จลุล่วง ผู้ที่มีความตั้งใจแน่วแน่เช่นนี้ ย่อมมีความกล้าหาญไม่หวั่นกลัวต่ออุปสรรคที่จะเกิดขึ้นขัดขวาง
5. ปัญญา
ปัญญา คือ ความรอบรู้ เข้าใจชัดในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ รู้จักคิด รู้จักวินิจฉัย รู้จักกระบวนการจัดการกับสิ่งต่าง ๆ ผู้ที่มีปัญญา ย่อมมีความแกล้วกล้า เพราะไม่มีความกังวล ไม่มีความเกรงกลัวต่อปัญหาทั้งหลายหากจะมีมา
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ