
ธัมมัสสวนานิสงส์ (อานิสงส์ของการฟังธรรม) 5 ประการ
ธัมมัสสวนานิสงส์ แปลว่า อานิสงส์ของการฟังธรรม หมายถึง ผลดีหรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการฟังธรรม ท่านจำแนกไว้ 5 ประการ คือ
1. อสฺสุตํ สุณาติ
อสฺสุตํ สุณาติ ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง คือ ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มีเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ระดับง่ายจนถึงระดับที่วิจิตรพิสดารทำความเข้าใจได้ยาก การฟังธรรมบ่อย ๆ ย่อมทำให้ผู้ฟังได้รับความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มมากขึ้น สิ่งที่ไม่เคยได้ฟังก็ได้ฟัง สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ก็ได้รู้ เป็นการพอกพูนสติปัญญาให้มากขึ้น
2. สุตํ ปริโยทเปติ
สุตํ ปริโยทเปติ สิ่งที่เคยได้ฟัง ก็ทำให้แจ่มแจ้ง เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น คือ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้น มีความละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกันไป บางเรื่องเข้าใจง่าย บางเรื่องเข้าใจยาก ฟังครั้งเดียวอาจยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ต้องฟังซ้ำจึงจะเข้าใจได้ดีขึ้น การฟังธรรมบ่อย ๆ ถ้าได้ฟังเรื่องเดิมซ้ำบ่อย ๆ ก็จะเข้าใจเนื้อหาในเรื่องนั้นมากยิ่งขึ้น หรือถ้าได้ฟังธรรมะเรื่องเดิมจากผู้แสดงธรรมที่แตกต่างกัน ย่อมได้รับฟังเนื้อหาที่ละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกันไป ตามระดับปัญญาหรือความสามารถในการถ่ายทอดของผู้แสดงธรรม จะทำให้ได้รับความรู้ที่หลากหลายขึ้น
3. กงฺขํ วิหนติ
กงฺขํ วิหนติ บรรเทาความสงสัยเสียได้ คือ บางคนอาจมีความสงสัยในบางเรื่องหรือหลายเรื่อง การฟังธรรมบ่อย ๆ ถ้าได้ฟังเรื่องที่ตรงกับความสงสัยของตนเอง ก็จะสามารถทำให้คลายความสงสัยเสียได้ ถ้าได้ฟังธรรมะในเรื่องที่ใกล้เคียงกับเรื่องที่ตนสงสัย ก็จะพอเทียบเคียงกันได้ หรือสอบถามผู้รู้ให้กระจ่างเสียเลยก็ได้
4. ทิฏฺฐึ อุชุํ กโรติ
ทิฏฺฐึ อุชุํ กโรติ ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ คือ การฟังธรรม ช่วยปรับความเข้าใจของคนให้ถูกต้องได้ เช่น บางคนอาจเข้าใจเรื่องบางเรื่องผิดไปจากความเป็นจริง เมื่อได้ฟังธรรมก็จะทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องได้ ทำให้เกิดสัมมาทิฏฐิคือความเห็นที่ถูกต้องได้ รู้จักบาปบุญคุณโทษ รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ รู้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควร เช่นนี้เรียกว่า ทำความเห็นให้ตรง
5. จิตฺตมสฺส ปสีทติ
จิตฺตมสฺส ปสีทติ จิตของเขาย่อมผ่องใส คือ ธรรมดาจิตของคนทั้งหลายย่อมถูกกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง ครอบงำอยู่เสมอ ทำให้คิดผิด พูดผิด ทำผิด มีจิตเศร้าหมอง เมื่อได้ฟังธรรมบ่อย ๆ จะทำให้ได้รู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด รู้สภาวะธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริง เกิดปัญญาเพิ่มขึ้นตามลำดับ ชำระความมัวหมองแห่งจิตได้ทีละน้อย ทำให้จิตผ่องใสขึ้นตามลำดับ
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ