
วัฒนมุข 6 ประการ
วัฒนมุข คือ ธรรมที่เป็นปากทางแห่งความเจริญ ธรรมที่เป็นดุจประตูชัยอันจะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของชีวิต มี 6 ประการ คือ
1. อาโรคยะ
อาโรคยะ ความไม่มีโรค ความมีสุขภาพดี ความไม่มีโรคนี้ เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ เพราะเมื่อไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน มีสุขภาพดีสมบูรณ์แข็งแรง ย่อมสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ประกอบกิจการงานใด ๆ ก็ราบรื่น หรือประพฤติธรรมก็สะดวกสบาย ดังนั้น ความไม่มีโรค จึงเป็นประตูสู่ความเจริญงอกงามอย่างหนึ่ง
2. ศีล
ศีล ความประพฤติดี มีวินัย ไม่ก่อเวรภัย ได้ฝึกในมรรยาทอันงาม ผู้ดำรงมั่นอยู่ในศีล อย่างต่ำคือศีล 5 อย่างสูงคือศีล 227 สำหรับภิกษุ หรือศีล 311 สำหรับภิกษุณี ย่อมงดเว้นจากการสร้างบาปอกุศลทั้งหลาย ประพฤติเฉพาะแต่สิ่งที่เป็นบุญกุศลโดยส่วนเดียว และผู้ทำดีเว้นชั่ว ย่อมประสบความเจริญงอกงาม ดังนั้น ศีล จึงเป็นประตูสู่ความเจริญงอกงามอีกประการหนึ่ง
3. พุทธานุมัต
พุทธานุมัต ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต การศึกษาแนวคิดและแนวปฏิบัติของบัณฑิตชนคนดีทั้งหลาย และนำมาปฏิบัติตาม หรือประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตแห่งตน นั่นก็เป็นประตูสู่ความเจริญงอกงามอีกประการหนึ่ง
4. สุตะ
สุตะ ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญและทันต่อเหตุการณ์ ความเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาเรียนรู้ หมั่นหาความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมอยู่เสมอ ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของโลก รู้เท่าทันสถานการณ์ของโลก และปรับตัวเข้ากับความเปลี่ยนแปลงของโลกได้อย่างกลมกลืน ก็เป็นประตูสู่ความเจริญงอกงามอีกประการหนึ่ง
5. ธัมมานุวัติ
ธัมมานุวัติ ดำเนินชีวิตและกิจการงานโดยทางชอบธรรม การดำเนินชีวิตโดยยึดหลักของศีลธรรมอันดีเป็นที่ตั้ง ย่อมทำให้บุคคลสามารถดำรงตนอยู่ได้โดยปราศจากทุจริตกรรมทั้งหลายอันเป็นตัวทำลายความเจริญงอกงามทั้งทางโลกและทางธรรม นั่นจึงเป็นประตูสู่ความเจริญอีกประการหนึ่ง
6. อลีนตา
อลีนตา เพียรพยายามไม่ระย่อ มีกำลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป การที่บุคคลมีความมุมานะบากบั่นพยายามไม่ย่อท้อในการประกอบสุจริตกรรมและสัมมาชีพทั้งหลาย มุ่งมั่นเรื่อยไปแม้มีอุปสรรคอันเป็นดังมารคอยกีดขวางก็ไม่ย่นระย่อ นั่นก็เป็นประตูสู่ความเจริญงอกงามอีกประการหนึ่ง
วัฒนมุข ทั้ง 6 ประการนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัตถทวาร (ประตูแห่งประโยชน์) หรือ อัตถประมุข (ปากทางสู่ประโยชน์)
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ