
บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
คำว่า บุคคลหาได้ยาก หมายถึง บุคคลที่มีคุณธรรมหรือคุณลักษณะฝ่ายดีที่หายาก 2 อย่าง นั่นคือ การสร้างประโยชน์ให้คนอื่นหรือช่วยเหลือคนอื่นก่อนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน และ ความเป็นคนรู้บุญคุณคนและทำคุณตอบแทนเมื่อมีโอกาส คุณธรรม 2 อย่างนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่งในตัวบุคคลทั้งหลาย เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว มนุษย์มักจะเป็นผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
บุคคลที่หาได้ยาก จำแนกตามคุณธรรม 2 ข้อดังกล่าวข้างต้น จึงแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน นั่นคือ
1. บุพการี
บุพการี แปลว่า ผู้กระทำคุณให้คนอื่นก่อน หมายเอาบุคลที่มีจิตใจเมตตาปรานี ทำคุณประโยชน์ต่อบุคคลอื่นก่อนโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน ถึงแม้ว่าบุคคลคนนั้นจะไม่เคยสร้างประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ตนมาก่อนเลยก็ตาม
บุคคลประเภทนี้ถือว่าหาได้ยากนักในสังคม เพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว คนทั้งหลายมักเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก การที่จะมีจิตใจอยากช่วยเหลือหรือสร้างคุณประโยชน์แก่คนอื่นนั้น เป็นไปได้ยากนัก โดยเฉพาะการสร้างประโยชน์แก่คนอื่นที่ไม่เคยมีบุญคุณแก่ตนเลย
บุคคลที่ยินดีสร้างคุณประโยชน์แก่ผู้อื่นก่อนเช่นนี้ จึงจัดเป็นบุคคลที่หาได้ยากประเภทแรก
ตัวอย่างของบุพการี ก็เช่น บิดามารดา ที่สร้างคุณประโยชน์แก่บุตรโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ ครูอาจารย์ ที่คอยสั่งสอนวิชาความรู้แก่ลูกศิษย์ ทั้งที่ลูกศิษย์นั้นไม่เคยทำประโยชน์ใด ๆ ให้ตนมาก่อนเลย เป็นต้น หรือบุคคลใด ๆ ก็ตามที่มีคุณลักษณะดังกล่าวมาแล้วนั้น จัดว่าเป็นบุคคลหาได้ยากประเภทที่ 1 คือ บุพการี
2. กตัญญูกตเวที
กตัญญูกตเวที แปลว่า ผู้รู้อุปการะที่คนอื่นทำแก่ตนและตอบแทน หมายถึง ผู้ที่ระลึกนึกถึงคุณงามความดีที่คนอื่นทำไว้แก่ตนเองและตอบแทน โดยการป่าวประกาศคุณงามความดีที่คนอื่นทำแก่ตนนั้นให้คนอื่นรับรู้บ้าง ด้วยการทำคุณงามความดีตอบแทนเขาในยามที่สามารถทำได้บ้าง
เป็นอันว่า กตัญญูกตเวทีนั้น ไม่ใช่แค่รู้จักบุญคุณคนอื่นอย่างเดียวเท่านั้น แต่รู้แล้วต้องตอบแทนด้วยเมื่อมีโอกาส จึงจะถือว่าครบถ้วนและมีคุณสมบัติที่จะได้ชื่อว่า กตัญญูกตเวที
ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ เป็นคุณธรรมสำคัญข้อหนึ่งที่บ่งบอกว่าบุคคลนั้น ๆ เป็นคนดีหรือไม่ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา” ซึ่งแปลว่า ความเป็นผู้กตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ