
คารวตา 6 ประการ
คารวตา หรือ คารวะ แปลว่า ความเคารพ หมายถึง การถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพึงใส่ใจและปฏิบัติด้วยความเอื้อเฟื้อ หรือโดยความหนักแน่นจริงจัง การมองเห็นคุณค่าและความสำคัญ แล้วปฏิบัติต่อบุคคลหรือสิ่งนั้นโดยถูกต้อง ด้วยความจริงใจ มี 6 ประการ คือ
1. พุทธคารวตา หรือ สัตถุคารวตา
พุทธคารวตา ความเคารพในพระพุทธเจ้า หรือ สัตถุคารวตา ความเคารพในพระศาสดา คือการมีความเคารพในพระพุทธเจ้า ให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าในฐานะเป็นที่เคารพบูชา เพราะพระองค์เป็นบุคคลที่ยิ่งยวดด้วยคุณความดี ทรงประกอบด้วยพระปัญญาคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระกรุณาคุณ ทรงค้นพบหนทางแห่งความดับทุกข์แล้วทรงสอนผู้อื่นให้รู้ตาม
เราทั้งหลายพึงเคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยการระลึกถึงคุณของพระองค์ เคารพพระองค์ในฐานะศาสดาเอกของโลก และด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนของพระองค์อย่างเคร่งครัด
2. ธัมมคารวตา
ธัมมคารวตา ความเคารพในพระธรรม พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิตให้มีความสุข เป็นสิ่งที่สามารถปฏิบัติตามได้และให้ผลจริง เป็นความจริงอันประเสริฐที่ไม่ไมีใครสามารถลบล้างได้
เราทั้งหลายพึงเคารพในพระธรรม ในฐานะที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และศึกษาเล่าเรียนธรรมเหล่านั้นด้วยความเคารพและนำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่กระทำการใด ๆ ที่เป็นการย่ำยีหรือดูหมิ่นพระธรรม
3. สังฆคารวตา
สังฆคารวตา ความเคารพในพระสงฆ์ พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วปฏิบัติตามจนได้บรรลุตาม และนำคำสั่งสอนนั้นมาถ่ายทอดให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ศึกษาและนำไปปฏิบัติ เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้มั่นคงยาวนามาจนบัดนี้
เราทั้งหลายพึงให้ความเคารพในพระสงฆ์ในฐานะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาและเป็นเนื้อนาบุญของโลก โดยการให้ความเคารพเลื่อมใสด้วยใจจริง ถวายความอุปถัมภ์ด้วยปัจจัยสี่ สนับสนุนในกิจต่าง ๆ ของพระสงฆ์ และไม่ดูหมิ่นเหยียดหยาม
4. สิกขาคารวตา
สิกขาคารวตา ความเคารพในการศึกษา การศึกษาเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้ การศึกษาทำให้เกิดปัญญา ไม่ว่าจะเป็นปัญญาระดับทั่วไปหรือปัญญาระดับสูง ย่อมเกิดมีขึ้นมาได้ด้วยการศึกษาทั้งสิ้น สำหรับการศึกษานั้น ในทางโลกหมายเอาการศึกษาทั่ว ๆ ไป คือการศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ สำหรับการประกอบอาชีพ ส่วนในทางธรรมหมายถึงการศึกษา 3 อย่างที่เรียกว่า ไตรสิกขา คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา
เราทั้งหลายพึงให้ความเคารพในการศึกษาทุกประเภท คือศึกษาด้วยความเคารพ ศึกษาด้วยความขยันหมั่นเพียร และไม่ดูหมิ่นดูแคลนสิ่งที่ศึกษานั้น
5. อัปปมาทคารวตา
อัปปมาทคารวตา ความเคารพในความไม่ประมาท ความไม่ประมาทคือความไม่ลุ่มหลงมัวเมา ในวัย ในความไม่มีโรค ในชีวิต ในธรรม เป็นต้น เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดสติ ไม่เผลอไปทำความชั่ว ไม่พลาดจากการทำคุณงามความดีทั้งหลาย
เราพึงให้ความเคารพในความไม่ประมาท ด้วยการตั้งสติหมั่นพิจารณาธรรมเนือง ๆ เห็นคุณค่าของความไม่ประมาท และไม่ดูหมิ่นดูแคลน
6. ปฏิสันถารคารวตา
ปฏิสันถารคารวตา ความไม่ประมาทในการปฏิสันถารคือการต้อนรับ การต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยน้ำใจไมตรีนั้นเป็นสิ่งที่เราทั้งหลายพึงให้ความสำคัญ เพราะเป็นการแสดงออกถึงน้ำใจและความเอื้อเฟื้อของผู้เป็นเจ้าถิ่น และเป็นการผูกมิตรไมตรีแก่กัน
เราทั้งหลายพึงให้ความเคารพในปฏิสันถาร ด้วยการปฏิบัติตามหลักปฏิสันถาร 2 ประการ
คารวตาทั้ง 6 ประการนี้ เป็นธรรมที่นำไปสู่ความเจริญงอกงาม เป็นไปเพื่อความไม่เสื่อม พุทธศาสนิกชนทั้งหลายพึงตระหนักและปฏิบัติให้สมบูรณ์
- อนันตริยกรรม 5 ประการ
- อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ประการ
- เวสารัชชกรณธรรม 5 ประการ
- องค์แห่งภิกษุใหม่ (นวกภิกขุธรรม) 5 ประการ
- องค์แห่งพระธรรมกถึก (ธรรมเทสกธรรม) 5 ประการ
- ธัมมัสสวนานิสงส์ 5 ประการ
- พละ 5 ประการ
- พละ 5 ของพระมหากษัตริย์
- นิวรณ์ 5 ประการ
- ขันธ์ 5 ประการ
- อนุปุพพิกถา 5 ประการ
- กามคุณ 5 ประการ
- ปีติ 5 ประการ
- จักขุ 5 ประการ
- ธรรมขันธ์ 5 ประการ
- มัจฉริยะ 5 ประการ
- วิญญาณ 5 ประการ
- มาร 5 ประการ
- วิมุตติ 5 ประการ
- เวทนา 5 ประการ
- สังวร 5 ประการ
- สุทธาวาส 5 ชั้น
- พระอนาคามี 5 ประเภท
- พระอรหันต์ 5 ประเภท
- อุบาสกธรรม 5 ประการ
- มิจฉาวณิชชา 5 ประการ
- ศีล 5 ประการ
- ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์ (โภคอาทิยะ) 5 ประการ
- พร 5 ประการ
- เทวทูต 5 ประการ
- ธรรมสมาธิ 5 ประการ
- นิยาม 5 ประการ
- หน้าที่มารดาบิดาที่มีต่อบุตร 5 ประการ
- หน้าที่ของบุตรธิดาที่พึงทำต่อมารดาบิดา 5 ประการ
- หน้าที่ศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครูอาจารย์ 5 ประการ
- หน้าที่ครูอาจารย์ที่พึงปฏิบัติต่อศิษย์ 5 ประการ
- หน้าที่สามีที่พึงปฏิบัติต่อภรรยา 5 ประการ
- หน้าที่ภรรยาที่พึงปฏิบัติต่อสามี 5 ประการ
- แนวทางบำรุงน้ำใจมิตรสหาย 5 ประการ
- สิ่งที่เพื่อนควรปฏิบัติต่อเพื่อน 5 ประการ
- สิ่งที่นายจ้างควรปฏิบัติต่อลูกจ้าง 5 ประการ
- สิ่งที่ลูกจ้างควรปฏิบัติ 5 ประการ
- กิริยาที่พึงปฏิบัติต่อสมณะ 5 ประการ
- หน้าที่ของพระสงฆ์ที่พึงปฏิบัติต่อคฤหัสถ์ 6 ประการ
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 3)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 4)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 5)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 6)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 7)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 8)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 9)
- อาวาสิกธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 10)
- นิโรธ 5 ประการ
- พหูสูตมีองค์ 5 ประการ
- เบญจธรรม 5 ประการ
- อริยวัฑฒิ 5 ประการ
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 1)
- อายุวัฒนธรรม 5 ประการ (หมวดที่ 2)
- อินทรีย์ 5 ประการ
- คารวตา 6 ประการ
- สารณียธรรม 6 ประการ
- ปิยรูปสาตรูป
- อายตนะภายใน 6 ประการ
- อายตนะภายนอก 6 ประการ
- วิญญาณ 6 ประการ
- สัมผัส 6 ประการ
- เวทนา 6 ประการ
- สัญญา 6 ประการ
- สัญเจตนา 6 ประการ
- ตัณหา 6 ประการ
- วิตก 6 ประการ
- วิจาร 6 ประการ
- อภิญญา 6 ประการ
- อภิฐาน 6 ประการ
- จริต 6 ประการ
- ธรรมคุณ 6 ประการ
- ภัพพตาธรรม 6 ประการ
- เวปุลลธรรม 6 ประการ
- สวรรค์ 6 ชั้น
- วัฒนมุข 6 ประการ
- อนุตตริยะ 6 ประการ
- ทวาร 6 ประการ
- อบายมุข 6 ประการ
- ธาตุ 6 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 6 ประการ
- ทิศ 6 ประการ