
สมชีวิธรรม 4 ประการ
สมชีวิธรรม คือ หลักธรรมของคู่ชีวิต ธรรมที่จะทำให้คู่สมรสมีชีวิตสมกันหรือสม่ำเสมอกลมกลืนกัน สามารถครองคู่เป็นคู่ชีวิตกันได้ยืดยาว ต้องมีความสมกัน 4 ด้าน ดังนี้
1. สมสัทธา
สมสัทธา แปลว่า มีศรัทธาสมกัน หรือมีศรัทธาเสมอกัน หมายความว่า คู่ชีวิตจะต้องมีความเชื่อหรือศรัทธาในเรื่องเดียวกัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น นับถือศาสนาเหมือนกัน เชื่อในสิ่งเดียวกัน เป็นต้น ถ้าไม่เชื่อในสิ่งเดียวกัน หรือมีความเชื่อไม่เหมือนกัน อาจทำให้ชีวิตคู่ไม่ยืนยาวเพราะมีความเชื่อต่างกัน
2. สมสีลา
สมสีลา แปลว่า มีศีลเสมอกัน หรือมีปกติการใช้ชีวิตที่คล้าย ๆ กัน หมายความว่า คู่ชีวิตจะต้องมีกิริยามารยาทที่เหมือนกัน มีความประพฤติเหมือนกัน เช่น เป็นคนรักษาศีลเหมือนกัน ชอบเข้าวัดทำบุญเหมือนกัน ชอบฟังธรรมเหมือนกัน เป็นต้น ถ้ามีศีลไม่เสมอกัน หรือมีความประพฤติที่แตกต่างกัน อาจทำให้ชีวิตคู่ไม่ยืนยาว ต้องเลิกรากันไปในที่สุด
3. สมจาคา
สมจาคา แปลว่า มีจาคะเสมอกัน มีการเสียสละเหมือน ๆ กัน หมายความว่า คู่ชีวิตต้องมีการสละให้ปันเหมือนกัน เช่น ชอบทำทานเหมือนกัน ชอบช่วยเหลือผู้อื่นเหมือนกัน เป็นต้น หรือมีการเสียสละเสมอกัน คือต่างฝ่ายต่างสามารถเสียสละเพื่อกันและกันได้ ชอบช่วยเหลือแบ่งปันกัน เห็นอกเห็นใจกัน เข้าใจกัน การใช้ชีวิตคู่จึงจะยืนยาว
4. สมปัญญา
สมปัญญา แปลว่า มีปัญญาเสมอกัน หรือมีปัญญาสมกัน หมายความว่า คู่ชีวิตต้องมีปัญญามีวิจารณญาณที่สมกัน คล้ายกัน หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถเข้าใจสิ่งทั้งหลายได้เหมือนกัน มีความเห็นและความคิดอ่านที่เหมือนกันหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงจะสามารถครองชีวิตคู่อย่างราบรื่นและยืนยาวได้
สมชีวิธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เป็นเครื่องชี้วัดว่าการครองชีวิตคู่ของคู่สมรส จะเป็นไปในทิศทางไหน ถ้ามีทั้ง 4 อย่างเหมือน ๆ กัน ชีวิตคู่ของเขาจะยืนยาวและมีความสุข
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ