
อเวเรน จ สมฺมนฺติ.
[คำอ่าน : อะ-เว-เร-นะ, จะ, สำ-มัน-ติ]
“เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร”
(วิ.มหา. ๕/๓๓๖, ม.อุป. ๑๔/๒๙๗, ขุ.ธ. ๒๕/๑๕, ขุ.ชา.ปญฺจก. ๒๗/๑๘๒)
เวร คือการจองล้างจองผลาญกัน จ้องทำลายล้างกัน ปรารถนาความฉิบหายแก่กันและกัน กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ไม่จบไม่สิ้น นี่คือการจองเวร
คนที่จองเวรคนอื่น คือจ้องล้างผลาญคนอื่นอยู่ตลอด จ้องที่จะสร้างความฉิบหายให้คนอื่นอยู่ตลอด ย่อมหาความสุขไม่ได้ เพราะใจของเขาเต็มไปด้วยความอาฆาตพยาบาท ทำให้จิตใจของเขาร้อนรุ่มขัดเคือง ไม่มีความสุข
ส่วนคนที่ถูกจองเวร คือถูกจองล้างจองผลาญ เมื่อรู้อยู่แก่ใจว่ามีคนคอยจองล้างจองผลาญตนเอง ก็ต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง หาความสุขมิได้เช่นเดียวกัน
เห็นได้ชัดเจนว่า การจองเวรกัน การจองล้างจองผลาญกันนั้น ก่อความทุกข์ความเดือดร้อนให้แก่ทั้งผู้จองเวรและผู้ถูกจองเวร หาประโยชน์อันใดมิได้เลย
แต่หากทั้งสองฝ่ายเลิกจองเวรกันเสียได้ ก็ไม่มีใครต้องทนทุกข์เพราะความอาฆาตพยาบาท ไม่มีใครต้องทนทุกข์เพราะต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวง
เมื่อเป็นเช่นนี้ ทุกฝ่ายย่อมสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข เวรทั้งหลายทั้งปวงก็จะสามารถสงบระงับลงเสียได้ด้วยการไม่จองเวรกันเช่นนี้แล
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา