
วาจํ ปมุญฺเจ กุสลํ นาติเวลํ.
[คำอ่าน : วา-จัง, ปะ-มุน-เจ, กุ-สะ-ลัง, นา-ติ-เว-ลัง]
“ไม่ควรเปล่งวาจาที่ดีให้เกินกาล”
(ขุ.ชา.ทุก. 27/80, ขุ.สุ. 25/525, ขุ.มหา. 29/622)
คำพูดนั้นสำคัญนัก คำพูดที่ดีย่อมยังประโยชน์ให้สำเร็จ คำพูดที่ไม่ดีย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ดังนั้นจึงควรพูดแต่คำพูดที่ดี และต้องพูดให้พอเหมาะแก่กาลเทศะด้วย
คำพูดที่ดีนั้น ต้องประกอบด้วยลักษณะ 5 อย่าง ดังนี้
- กล่าวในกาลที่สมควร
- กล่าวคำสัตย์
- กล่าววาจาสุขุม ละเอียด ไม่หยาบคาย
- กล่าวคำที่มีประโยชน์ในชาตินี้และชาติหน้า
- กล่าวคำประกอบไปด้วยจิตเมตตา
การพูดที่ดีนั้นต้องประกอบด้วยลักษณะ 5 ประการดังกล่าว ถึงแม้ว่าเราจะเป็นคนที่พูดดี พูดเก่งสักเพียงใดก็ตาม ถ้าพูดไม่ถูกกาลเทศะเสียแล้ว ก็อาจจะกลายเป็นข้อเสีย หรือทำให้เกิดผลไม่ดีขึ้นมาได้
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา