
กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ.
[คำอ่าน : กุ-สะ-โล, จะ, ชะ-หา-ติ, ปา-ปะ-กัง]
“คนฉลาด ย่อมละบาป”
(ที.มหา. ๑๐/๑๕๙, ขุ.อุ. ๒๕/๒๑๕)
บาป คือ ความชั่วช้าลามก ได้แก่ ความประพฤติชั่วทางกาย วาจา ใจ ที่เรียกว่า ทุจริต ๓ ประการ นั่นเอง ผลของบาปนั้น ย่อมทำให้ผู้กระทำได้รับความเดือดร้อนฉิบหาย
ผู้ฉลาด เมื่อมาพิจารณาถึงผลเสียของบาปแล้ว ย่อมงดเว้นการทำบาปทุกกรณี เพราะผู้ฉลาดย่อมรู้ดีว่า บาปนั้นเป็นทางแห่งความเสื่อม ก่อความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น
ผู้ฉลาด นอกจากจะงดเว้นบาปแล้ว ยังหมั่นสร้างสมอบรมคุณงามความดีอีกด้วย คือพยายามทำความดีทุกวิถีทาง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ของความดี มองเห็นผลดีของบุญกุศลนั่นเอง
อีกอย่างหนึ่ง หัวใจหลักสำคัญประการแรกของคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ก็คือ การไม่ทำบาปทั้งปวง ดังนั้น การละเว้นจากการทำบาปทั้งหลาย จึงเป็นการกระทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นกิริยาที่น่าชื่นชม บัณฑิตคือคนฉลาดทั้งหลาย จึงละบาปทุกประการเสีย สร้างแต่คุณงามความดี อันจะเป็นเหตุนำพาชีวิตเข้าสู่ความเจริญเหินห่างจากความเสื่อม
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา