
ธุระ 2 ประการ
ธุระ แปลว่า หน้าที่การงานที่พึงกระทำ หมายถึง กิจที่จะต้องทำในพระพุทธศาสนา คือหน้าที่ที่ผู้บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว จะต้องเอาใจใส่ไม่ทอดทิ้ง มี 2 ประการ คือ
1. คันถธุระ
คันถธุระ คือ ธุระฝ่ายคัมภีร์ หรือ กิจด้านการเล่าเรียน ผู้ที่บรรพชาอุปสมบทเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว จะต้องเอาใจใส่ศึกษาหลักธรรมคำสอนอันเป็นหลักปฏิบัติ และศึกษาพระวินัยอันเป็นระเบียบปฏิบัติ ให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจน เพื่อให้สามารถดำรงตนอยู่ในพระพุทธศาสนาได้ด้วยความบริสุทธิ์งดงาม ไม่มัวหมอง
2. วิปัสสนาธุระ
วิปัสสนาธุระ คือ ธุระฝ่ายการเจริญวิปัสสนา หรือ กิจด้านการบำเพ็ญภาวนา คือการเจริญกรรมฐาน ทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน อันเป็นธุระสำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา
เป้าหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนานั้นคือพระนิพพาน และสิ่งที่จะทำให้ถึงพระนิพพานได้ก็คือวิปัสสนาธุระ หรือการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนี่เอง
ทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันอยู่ โดยคันถธุระคือการศึกษาเล่าเรียนนั้น จะก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจนทั้งในหลักปฏิบัติและระเบียบปฏิบัติ อันจะเป็นเหตุให้การปฏิบัติวิปัสสนาธุระคือการเจริญกรรมฐานสามารถทำได้ถูกต้องและได้ผล
- ธรรมมีอุปการะมาก 2 ประการ
- ธรรมอันทำให้งาม 2 ประการ
- อริยบุคคล 2 ประเภท
- กาม 2 อย่าง
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- เทศนา 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 2 ประการ (หมวดที่ 4)
- สมาธิ 2 ประการ
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- สุข 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทุกข์ 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 1)
- ทาน 2 ประการ (หมวดที่ 2)
- ปธาน 2 ประการ
- ภาวนา 2 ประการ
- เวปุลละ 2 ประการ
- สัจจะ 2 ประการ
- พระอรหันต์ 2 ประเภท
- อุปัญญาตธรรม 2 ประการ
- ธรรมคุ้มครองโลก 2 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 2 ประการ
- บุคคลหาได้ยาก 2 ประเภท
- กรรมฐาน 2 ประเภท
- ทิฏฐิ 2 ประการ
- นิพพาน 2 ประการ
- บูชา 2 ประการ
- ปฏิสันถาร 2 ประการ
- ปริเยสนา 2 ประการ
- ปาพจน์ 2 ประการ
- รูป 2 ประการ
- วิมุตติ 2 ประการ
- สังขาร 2 ประการ
- สุทธิ 2 ประการ
- กรรม 2 ประการ
- อันตา 2 ประการ
- ธุระ 2 ประการ
- บัญญัติ 2 ประการ
- ปัจจัยให้เกิดสัมมาทิฏฐิ 2 ประการ
- ฤทธิ์ 2 ประการ
- สังคหะ 2 ประการ
- ศาสนา 2 ประการ
- อัตถะ 2 ประการ
- เวทนา 2 ประการ
- ฌาน 2 ประเภท
- ฌาน 2 ประการ