
นตฺถิ โทสสโม คโห.
[คำอ่าน : นัด-ถิ, โท-สะ-สะ-โม, คะ-โห]
“ผู้จับ เสมอด้วยโทสะ ไม่มีเลย”
(ขุ.ธ. ๒๕/๔๘)
คำว่า “ผู้จับ” หมายถึง ผู่ที่ควบคุมไว้ เหมือนตำรวจจับผู้ร้าย เมื่อจับได้แล้วก็ควบคุมตัวไว้ ไม่ให้ไปไหน ควบคุมให้อยู่ในอำนาจ ผู้ที่ถูกควบคุมต้องทำตามคำสั่งของผู้ควบคุมเท่านั้น ขัดขืนไม่ได้โดยประการทั้งปวง
โทสะ เปรียบเสมือนผู้จับชนิดหนึ่ง เพราะโทสะเกิดขึ้นกับผู้ใดแล้ว ย่อมควบคุมผู้นั้นไว้ในอำนาจ และสั่งการให้ผู้นั้นกระทำการต่าง ๆ ตามอำนาจของโทสะ ซึ่งโดยปกติแล้ว โทสะมีธรรมชาติร้อนเหมือนไฟ เมื่อโทสะสั่งการ จึงสั่งการไปในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหาย
โทสะ ย่อมสั่งให้กระทำการประทุษร้ายผู้อื่น ด้วยการทำร้ายร่างกายเขา เบียดเบียนเขา ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของเขาบ้าง
หรือสั่งให้ประทุษร้ายผู้อื่นด้วยวาจา คือ การด่าทอต่อว่า ด้วยวาจาหยาบโลน ก่อให้เกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันขึ้นมา
ถ้าอยากหลุดพ้นจากอาการดังว่ามา จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสลัดให้หลุดจากอำนาจของโทสะที่คอยควบคุมจิตใจของเราเอาไว้ ด้วยการเจริญเมตตาธรรมบ่อย ๆ จนติดเป็นนิสัย โทสะจะได้เบาบางลง
สารบัญ พุทธศาสนสุภาษิต
- อัตตวรรค หมวดตน
- อัปปมาทวรรค หมวดความไม่ประมาท
- กัมมวรรค หมวดกรรม
- กิเลสวรรค หมวดกิเลส
- โกธวรรค หมวดความโกรธ
- ขันติวรรค หมวดความอดทน
- จิตตวรรค หมวดจิต
- ชยวรรค หมวดความชนะ
- ทานวรรค หมวดทาน
- ทุกขวรรค หมวดทุกข์
- ธัมมวรรค หมวดธรรม
- ปกิณกวรรค หมวดเบ็ดเตล็ด
- ปัญญาวรรค หมวดปัญญา
- ปมาทวรรค หมวดความประมาท
- ปาปวรรค หมวดบาป
- ปุคคลวรรค หมวดบุคคล
- ปุญญวรรค หมวดบุญ
- มัจจุวรรค หมวดความตาย
- มิตตวรรค หมวดมิตร
- ยาจนาวรรค หมวดการขอ
- ราชวรรค หมวดพระราชา
- วาจาวรรค หมวดวาจา
- วิริยวรรค หมวดความเพียร
- เวรวรรค หมวดเวร
- สัจจวรรค หมวดความสัตย์
- สติวรรค หมวดสติ
- สัทธาวรรค หมวดศรัทธา
- สันตุฏฐิวรรค หมวดสันโดษ
- สมณวรรค หมวดสมณะ
- สามัคคีวรรค หมวดสามัคคี
- สีลวรรค หมวดศีล
- สุขวรรค หมวดความสุข
- เสวนาวรรค หมวดการคบหา