
ฌาน 4 ประการ
ฌาน หมายถึง ความแน่วแน่แห่งจิต หรือภาวะที่จิตสงบนิ่งเป็นสมาธิขั้นอัปปนา ซึ่งเป็นสมาธิขั้นสูงสุด เกิดจากการเจริญสมถกรรมฐาน ในที่นี้หมายเอารูปฌาน คือฌานที่เกิดจากการเพ่งสิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น กสิณ 10 อสุภะ 10 เป็นต้น เป็นอารมณ์
ฌานอันเป็นส่วนรูปฌานนั้น แบ่งเป็น 4 ระดับ ตามความหยาบและประณีตของสมาธิ ซึ่งกำหนดด้วยคุณสมบัติของจิตที่เป็นองค์ประกอบร่วมของสมาธิในขณะนั้น ๆ ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวนั้นประกอบด้วย
- วิตก คือ การจรดจิตลงในอารมณ์
- วิจาร คือ การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์
- ปีติ คือ ความอิ่มใจ
- สุข คือ ความปลอดโปร่งเบาสบาย
- อุเบกขา คือ ความมีใจเป็นกลาง
- เอกัคคตา คือ ภาวะที่จิตมีอารมณ์แน่วแน่เป็นหนึ่งเดียว
ฌานอันเป็นรูปฌานแต่ละระดับนั้น มีองค์ประกอบที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. ปฐมฌาน
ปฐมฌาน มีองค์ประกอบ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และ เอกัคคตา
2. ทุติยฌาน
ทุติยฌาน มีองค์ประกอบ 3 คือ ปีติ สุข และ เอกัคคตา
3. ตติยฌาน
ตติยฌาน มีองค์ประกอบ 2 คือ สุข และ เอกัคคตา
4. จตุตถฌาน
จตุตถฌาน มีองค์ประกอบ 2 คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา
ผู้ที่ได้รูปฌานแต่ละขั้น เมื่อตายไปแล้ว จะไปเกิดในรูปพรหมชั้นต่าง ๆ กัน ดังนี้
- ผู้ที่ได้ปฐมฌาน จะไปเกิดในรูปพรหม 3 ชั้น คือ ปาริสัชชาพรหม ปุโรหิตาพรหม และ มหาพรหมาพรหม
- ผู้ที่ได้ทุติยฌาน จะไปเกิดในรูปพรหม 3 ชั้น คือ ปริตตาพรหม อัปปมาณาภาพรหม และ อาภัสสราพรหม
- ผู้ที่ได้ตติยฌาน จะไปเกิดในรูปพรหม 3 ชั้น คือ ปริตตสุภาพรหม อัปปมาณสุภาพรหม และ สุภกิณหาพรหม
- ผู้ที่ได้จตุตถฌาน จะไปเกิดในรูปพรหม 2 ชั้น คือ เวหัปผลาพรหม และ อสัญญีสัตตาพรหม
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ