
ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
ทักขิณาวิสุทธิ หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณาหรือการถวายทาน เป็นสิ่งจำแนกให้เห็นชัดว่าการถวายทานนั้นจะมีอานิสงส์มากหรือน้อย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความบริสุทธิ์ของฝ่ายผู้ให้และผู้รับ ท่านจำแนกไว้ 4 ประการ ดังนี้
1. ทักษิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก คือ ทายกคือผู้ให้นั้นเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แสวงหาวัตถุทานมาได้ด้วยความบริสุทธิ์โดยทางที่สุจริต และมีความเต็มใจที่จะบำเพ็ญบุญถวายทาน แต่ปฏิคาหกคือผู้รับกลับเป็นผู้ทุศีล คือมีความประพฤติทุจริต ไม่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี
ทานลักษณะนี้เป็นทานที่มีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย เปรียบเหมือนการนำเมล็ดข้าวพันธ์ุดีไปหว่านลงในนาที่แห้งแล้งดินไม่ดี ย่อมไม่งอกงามอย่างที่ควร และให้ผลผลิตน้อย
2. ทักษิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก แต่ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก คือ ปฏิคาหกคือผู้รับทานนั้น เป็นผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ประกอบด้วยกัลยาณธรรม ดำรงตนอยู่ในศีล แต่ทายกคือผู้ให้นั้นกลับเป็นผู้มีความประพฤติทุจริต ดำรงชีวิตไม่เหมาะสม แสวงหาวัตถุทานมาได้ในทางที่มิชอบ ไม่ประกอบด้วยศีลธรรม
ทานลักษณะนี้ ก็เป็นทานที่มีผลน้อย มีอานิสงส์น้อย เปรียบเหมือนการนำเมล็ดข้าวที่ไม่ดีไปหว่านลงในนาที่ดินดีอุดมสมบูรณ์ ถึงนาจะอุดมสมบูรณ์เพียงใด แต่เมล็ดข้าวนั้นไม่ดี เมื่อหว่านลงไปก็ไม่งอกงามเท่าที่ควร และให้ผลผลิตไม่ดี
3. ทักษิณาบางอย่าง ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่ไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก คือ ทั้งทายกคือผู้ให้ก็เป็นผู้ทุศีล ไม่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรม แสวงหาวัตถุทานมาด้วยอาการที่ทุจริตผิดศีลธรรม ทั้งปฏิคาหกคือผู้รับก็เป็นผู้มีความประพฤติชั่วเกลือกกลั้วอกุศล ไม่ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมเช่นกัน
ทานลักษณะนี้ย่อมเป็นทานที่ไร้ผล เปรียบเหมือนการนำเมล็ดข้าวที่ไม่ดีไปหว่านลงในนาที่แห้งแล้ง เมล็ดข้าวนั้นย่อมไม่สามารถงอกงามได้ และให้ผลผลิตไม่ได้
4. ทักษิณาบางอย่าง บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก
ทักษิณาที่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกและฝ่ายปฏิคาหก คือ ทั้งทายกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ แสวงหาวัตถุทานมาได้ด้วยความบริสุทธิ์สุจริต และเต็มใจถวายทานด้วยศรัทธา ทั้งปฏิคาหกคือผู้รับก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ เป็นเนื้อนาบุญที่แท้จริง
ทานลักษณะนี้ย่อมเป็นทานที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก เปรียบเหมือนการนำเมล็ดข้าวพันธุ์ดีไปหว่านลงในนาที่มีดินดีอุดมสมบูรณ์ เมล็ดข้าวเหล่านั้นย่อมสามารถงอกงามได้อย่างเต็มที่ และให้ผลผลิตได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ