
อริยสัจ 4 ประการ
อริยสัจ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ อริยสัจนี้ เป็นความจริงที่ประเสริฐกว่าความจริงทั้งหมด เพราะสามารถนำไปสู่ความพ้นทุกข์ได้ เป็นความจริงที่พระอริยะคือพระพุทธเจ้าทรงค้นพบด้วยพระองค์เอง และทำให้ผู้ที่เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ อริยสัจ มี 4 ประการ คือ
1. ทุกข์
ทุกข์ คือ ความทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ ประกอบด้วย ความเกิด ความแก่ และความตาย และปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร ประกอบด้วย ความเศร้าใจ ความคร่ำครวญ ความเจ็บไข้ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความไม่สมปรารถนา ว่าโดยย่อคือ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์
2. ทุกขสมุทัย
ทุกขสมุทัย หรือ สมุทัย คือ เหตุเกิดแห่งทุกข์ สาเหตุให้ทุกข์เกิด ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานอยากในภพ คือความอยากมีอยากเป็น และวิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ คือความอยากหลุดพ้นจากภาวะที่ตนไม่ชอบไม่ต้องการ
3. ทุกขนิโรธ
ทุกขนิโรธ หรือ นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ภาวะที่เข้าถึงเมื่อสามารถกำจัดอวิชชาสำรอกตัณหาได้สิ้นแล้ว เป็นสภาวะที่ไม่ถูกย้อม ไม่ติดข้อง หลุดพ้น สงบ ปลอดโปร่ง เป็นอิสระ กล่าวคือ พระนิพพาน นั่นเอง
4. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือ มรรค คือ ปฏิปทาที่นำไปสู่ความดับแห่งทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยมรรค หรือ อัฏฐังคิกมรรค คือมรรคมีองค์แปด หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง
- วุฑฒิธรรม 4 ประการ
- จักร 4 ประการ
- อคติ 4 ประการ
- อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ 4 ประการ
- ปธาน 4 ประการ
- อธิษฐานธรรม 4 ประการ
- อิทธิบาท 4 ประการ
- สิ่งที่ไม่ควรประมาท 4 ประการ
- ปาริสุทธิศีล 4 ประการ
- อารักขกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- พรหมวิหาร 4 ประการ
- สติปัฏฐาน 4 ประการ
- ธาตุกัมมัฏฐาน 4 ประการ
- อริยสัจ 4 ประการ
- อบาย 4 ประเภท
- อปัสเสนธรรม 4 ประการ
- อัปปมัญญา 4 ประการ
- อริยวงศ์ 4 ประการ
- อรูป 4 ประการ
- อวิชชา 4 ประการ
- อาหาร 4 ประการ
- อุปาทาน 4 ประการ
- โอฆะ 4 ประการ
- กิจในอริยสัจ 4
- ฌาน 4 ประการ
- ทักขิณาวิสุทธิ 4 ประการ
- ธรรมสมาทาน 4 ประการ
- บริษัท 4 (หมวดที่ 1)
- บริษัท 4 (หมวดที่ 2)
- บุคคล 4 ประเภท
- ปฏิปทา 4 ประการ
- ปฏิสัมภิทา 4 ประการ
- ภูมิ 4 ประการ
- มรรค 4 ประการ
- ผล 4 ประการ
- โยนิ 4 ประการ
- วรรณะ 4 ประการ
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- วิบัติ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- เวสารัชชญาณ 4 ประการ
- เจดีย์ 4 ประการ
- ถูปารหบุคคล 4 ประเภท
- ธาตุ 4 ประการ
- ปรมัตถธรรม 4 ประการ
- ประมาณ (ปมาณิก) 4 ประเภท
- ปัจจัย 4 ประการ
- นิสสัย 4 ประการ
- ปัญญาวุฒิธรรม 4 ประการ
- พร 4 ประการ
- พละ 4 ประการ
- โภควิภาค 4
- มหาปเทส 4 ประการ
- โยคะ 4 ประการ
- เทสนาวิธี 4 ประการ
- วิธีปฏิบัติต่อทุกข์และสุข 4 ประการ
- สมบัติ 4 ประการ
- วิปลาส 4 ประการ
- เทวทูต 4 ประการ
- พหุการธรรม 4 ประการ
- สัทธา (ศรัทธา) 4 ประการ
- สมชีวิธรรม 4 ประการ
- สมาธิภาวนา 4 ประการ
- สังขาร 4 ประการ
- ราชสังคหวัตถุ 4 ประการ
- สังเวชนียสถาน 4 ประการ
- สัมปทา 4 ประการ
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 1)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 2)
- โสตาปัตติยังคะ 4 ประการ (หมวดที่ 3)
- ธรรม 4 ประการ
- อาจารย์ 4 ประเภท
- สัมปชัญญะ 4 ประการ
- ลักษณะของขันติ 4 ประการ
- ภาวนา 4 ประการ
- มหาภูต (ภูตรูป) 4 ประการ
- อริยบุคคล 4 ประเภท
- พระอรหันต์ 4 ประเภท
- อาสวะ 4 ประการ
- นิมิต 4 ประการ
- กรรมกิเลส 4 ประการ
- อบายมุข 4 ประการ
- ทิฏฐิธัมมิกัตถะ 4 ประการ
- สัมปรายิกัตถะ 4 ประการ
- มิตรเทียม 4 ประเภท
- มิตรแท้ 4 ประเภท
- สังคหวัตถุ 4 ประการ
- สุขของคฤหัสถ์ 4 ประการ
- ความปรารถนาที่สมหมายได้ยาก 4 ประการ
- เหตุที่ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นาน 4 ประการ
- กุลจิรัฏฐิติธรรม 4 ประการ
- ฆราวาสธรรม 4 ประการ